วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มาเลเซียแอร์ไลน์สเจ๊ง! รัฐบาลมาเลเซียเข้าเทกโอเวอร์แล้ว

Coat of arms of Malaysia.svg
Picture From  http://en.wikipedia.org/wiki/Government_of_Malaysia#mediaviewer/File:Coat_of_arms_of_Malaysia.svg
บริษัทสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส ที่เป็นสายการบินแห่งชาติของมาเลย์เซียถูกซื้อโดย คาซานาห์ แนชันแนล (Khazanah Nasional) กองทุนรัฐบาลมาเลเซีย กลายเป็นสายการบินของรัฐบาลอย่างเต็มตัว หลังจากบริษัทประสบปัญหาอย่างหนักหลังวิกฤต MH370 และ MH17 ทำให้หุ้นร่วงอย่างต่อเนื่องหนัก และล่าสุดราคาซื้อขายสุดท้ายในวันพฤหัสบดี (7) อยู่ที่ 27 เซนมาเลย์ (sen)ต่อหุ้น (2.72 บาท) ซึ่งจะเป็นราคาที่ทางกองทุนจะขอซื้อต่อจากผู้ถือหุ้นเดิม 
       
       คาซานาห์ แนชันแนล (Khazanah Nasional) กองทุนรัฐบาลมาเลเซียที่แต่เดิมถือสัดส่วนหุ้นของบริษัทสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ส 70% ได้ประกาศเดินหน้าเข้าซื้อกิจการโดยขอซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมด และแผนฟื้นฟูกิจการสายการบินสัญชาติมาเลย์คาดว่าจะเสร็จสิ้นก่อนปลายเดือนนี้
       
       มีการคาดการณ์ว่า ทางกองทุนคาซานาห์ แนชันแนลจะต้องเข้ามาแทรกแซงโดยนำมาเลเซียแอร์ไลน์สออกจากการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศ และเข้าช้อนหุ้นส่วนที่เหลืออีก 30% ในอัตรา 27 เซนมาเลย์ (sen) ต่อหุ้น (2.72 บาท) และ 12.5% พรีเมียม ซึ่งเป็นราคาปิดสุดท้ายของบริษัทแห่งนี้ในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันพฤหัสบดี (7) ซึ่งถือว่าสูงกว่า 29% ของราคาต่อหุ้นเมื่อ 3 เดือนล่าสุด โดยทางกองทุนต้องการเดินหน้าแผนฟื้นฟูกิจการต่อไปหลังจากวิกฤตอันน่าเหลือเชื่อถึง 2 ครั้งกระหน่ำบริษัทมาเลเซียแอร์ไลน์ส โดยราคาหุ้นของสายการบินก่อนเกิดวิกฤต MH370 หายไปอย่างไร้ร่องรอย อยู่ที่ 25 เซนมาเลย์ (2.52 บาท) และอยู่ที่ 23 เซนมาเลย์ (2.31 บาท) ก่อนที่ MH17 จะถูกยิงตก
       
       เอพีรายงานวันศุกร์ (8) ว่า คาดว่ากองทุนแห่งชาติมาเลย์ต้องใช้เม็ดเงินถึง 429 ล้านดอลลาร์เพื่อเข้าซื้อกิจการครั้งนี้
       
       อย่างไรก็ตาม ปัญหาใหญ่ของคาซานาห์ แนชันแนล ที่ต้องประสบคือปัญหาหนี้ก้อนใหญ่ของสายการบินแห่งนี้ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2002 มีสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์ เนื่องจากปัญหาบินในเส้นทางที่ไม่สามารถทำกำไรและมีจำนวนพนักงานมากเกินไป และเนื่องจากมาเลเซียแอร์ไลน์สเป็นสายการบินประจำชาติ จึงข้อกำหนดให้ทางบริษัทต้องบินภายในประเทศในเส้นทางที่ไม่สามารถทำกำไรได้ ประกอบกับมีสหภาพแรงงานพนักงานที่เข้มแข็งที่ต่อต้านการปฏิรูปโครงสร้างของบริษัท ในขณะที่สายการบินคู่แข่ง เช่น แอร์เอเชียเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่มาเลเซียแอร์ไลน์สที่เปรียบเสมือนซูเปอร์รถถัง ที่จะปรับทิศทางใดทำได้ช้ากว่ามาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น