วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ครบร้อยปีสัญญาณไฟจราจร

 
picture from http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/91/Modern_British_LED_Traffic_Light.jpg/640px-Modern_British_LED_Traffic_Light.jpg

Datei:Bundesarchiv Bild 102-01702, Berlin, Ampel am Potsdamer Platz.jpg
Picture From : http://de.wikipedia.org/wiki/Datei:Bundesarchiv_Bild_102-01702,_Berlin,_Ampel_am_Potsdamer_Platz.jpg 
    แม้จะเป็นเรื่องที่คนทั่วไปไม่ชอบ  แต่ตามสถิติ ชาวเยอรมันทุก ๆ คนใช้เวลา ๒ สัปดาห์ของชีวิตกับการหยุดเพราะติดสัญญาณไฟแดง  “Wechsellichtzeichenanlage“ ตามชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในภาษาเยอรมันกำกับชีวิตประชาชนหลายพันล้านคนทั่วโลกและไม่สามารถหลีกพ้น  ในวันที่ ๕ สิงหาคมสัญญาณจราจรจะมีอายุครบ ๑๐๐ ปี  ตามจริงหลักการสัญญาณไฟเก่าแก่กว่านี้  ในปี ๑๘๖๘ ที่ลอนดอนมีเสาไฟแก๊ซที่มีแสงไฟสีเขียวและสีแดงที่ตำรวจใช้ในเวลากลางคืน แต่หลัง ๓ สัปดาห์มันระเบิดและทำให้ตำรวจบาดเจ็บสาหัส  ใช้เวลาอีก ๔๖ ปีกว่าสัญญาณไฟจราจรอันแรกตามหลักการที่เรารู้จักกันทุกวันนี้จะใช้งานที่คลีฟแลนด์ โอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา  ผู้พัฒนา ได้แก่ Garrett Morgan บุตรชายอดีตทาสที่เป็นผู้ค้นพบหน้ากากกันแก๊ซพิษและน้ำยาทำให้ผมเหยียดตรง  ตามข้อมูลของซีเมนส์ผู้ผลิต ทุกวันนี้ในประเทศเยอรมันมีสัญญาณจราจร ๑.๕ ล้านอัน  หากขับรถไปทุกแห่งและรอไฟแดงแห่งละ ๑ นาทีจะใช้เวลารอทั้งหมดราว ๓ ปี  ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าสัญญาณจราจรจะพูดกับผู้ขับรถยนต์ : Wir müssen reden! (เราต้องคุยกัน!)  ตัวอย่างเช่นเกี่ยวกับเวลาที่ไฟยังแดงอยู่  โดยสัญญาณจราจรอาจพูดกับผู้ขับว่า “ดับเครื่องยนต์!”  แต่สิ่งหนึ่งจะคงอยู่  ข้างบนแดง ตามมาด้วยเหลืองและเขียว  ซึ่งเป็นแบบนี้ทั่วโลก  ที่ประเทศจีนเคยมีครั้งหนึ่งที่ควรสลับสีกัน  เพื่อให้สีของคอมมิวนิสต์เป็นสีสำหรับให้รถวิ่งได้  แต่แผนลงเอยด้วยความยุ่งเหยิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น