สาขาแพทยศาสตร์ การพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งแบบพิเศษทำให้ James
Allison ชาวอเมริกันวัย ๗๐
ปีจากศูนย์มะเร็งแอนเดอร์สันของมหาวิทยาลัยเท็กซัส และ Tasuku Honjo ชาวญี่ปุ่นวัย ๗๖ ปีจากมหาวิทยาลัยเกียวโต
ได้รับรางวัลโนเบลสาขาแพทยศาสตร์ประจำปีนี้ ตามการเปิดเผยของสถาบัน Karolinska
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคมที่ผ่านมาที่สตอคโฮล์ม ทั้งสองคนได้พัฒนาการรักษาที่เรียกว่า
“เช็คพอยท์”
ซึ่งขณะนี้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่รูปแบบการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล และมิฉะนั้นจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
โดยนักวิจัยค้นพบว่าโปรตีนบางตัวมีผลเป็นตัวหยุดยั้งในระบบภูมิคุ้มกันโรคและทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคไม่ต่อสู้กับเซลล์เนื้องอก หากสลายการหยุดยั้งนี้ ด้วยการช่วยเหลือของเช็คพอยท์ ระบบคุ้มกันโรคจะโจมตีเซลล์เนื้องอกอีกครั้งหนึ่ง
ในกรณีที่ดีที่สุดสามารถนำไปสู่การรักษาให้หายได้ ข้อเสียเปรียบของการรักษา ได้แก่
ค่าใช้จ่ายที่สูง ซึ่งสามารถเป็นเงินมากกว่าหลายหมื่นยูโรต่อเดือน
และเช่นเดียวกับการรักษาด้วยคีโมและการฉายรังสี
รูปแบบการรักษาวิธีนี้ก็ไม่ได้ปลอดจากผลข้างเคียง
สาขาฟิสิกส์ ในปีนี้ครึ่งหนึ่งตกเป็นของ Arthur
Ashkin ชาวอเมริกัน
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นของ Gerard Mourou ชาวฝรั่งเศสและ Donna Srtickland ชาวแคนาดา สำหรับการค้นพบในสาขาฟิสิกส์เลเซอร์ โดย Ashkin ได้รับรางวัลสำหรับการพัฒนา
“คีบคีมเชิงแสง” และการใช้งาน ส่วน
Mourou และ Strickland สำหรับวิธีการสร้างคลื่นความเข้มของเลเซอร์พลังงานสูง ซึ่งใช้การยืด ขยาย และบีบอัด สัญญาณคลื่นแสง
เพื่อทำให้เลเซอร์มีความถี่สูงขึ้น
ทำให้ทรงพลังและมีความแม่นยำสูง
ทั้งนี้ สตริคลันด์ถือเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงคนแรกในรอบ ๕๕ ปีที่ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาฟิสิกส์ และเป็นสตรีคนที่สามในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น