เนื่องจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
เป็นวงจรชีวิตมนุษย์ ยาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการเยียวยาความเจ็บไข้ได้ป่วย ยาบางอย่างใช้เฉพาะเมื่อมีอาการ เช่น ยาแก้ปวด
ยาลดน้ำมูก ยาแก้อาการเจ็บคอ แก้ไอ ยาทาแก้ผื่นคัน ยาแก้ท้องอืด ยาระบาย ฯลฯ ยาเหล่านี้เป็นยารักษาตามอาการ ไม่จำเป็นต้องใช้ตลอดไป
ยาบางอย่างต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ได้แก่ ยารักษาโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น
ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาเบาหวาน ยารักษาโรคหัวใจขาดเลือด ยารักษาโรคข้ออักเสบ
รูมาตอยด์ ฯลฯ ยาประเภทนี้คนไข้ไม่ควรหยุดยาเอง ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์จะตรวจประเมินว่าพยาธิสภาพของโรคดีพอที่จะสามารถหยุดยาได้หรือไม่ ยาปฏิชีวนะที่ประชาชนเรียกว่ายาแก้อักเสบ
แทพย์จะสั่งให้เป็นชุด ต้องฉีดหรือกินติดต่อกันหลายวัน ในกรณีที่เชื้อรุนแรงอาจนานหลายสัปดาห์ ซึ่งควรฉีดหรือกินยาให้ครบตามที่แพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาก่อนเพราะเห็นว่าอาการดีขึ้นแล้ว
เพราะเชื้อโรคอาจยังหลงเหลืออยู่ มีโอกาสเป็นขึ้นมาอีกและมีโอกาสทำให้เชื้อโรคดื้อยาได้ ช่วงเวลาการกินยาสำคัญเช่นกัน ยาบางชนิดต้องกินก่อนอาหาร หลังอาหาร
ยาบางชนิดต้องกินตอนท้องว่าง เพราะร่างกายสามารถดูดซึมสารจากตัวยาได้ดี ถ้ากินพร้อมอาการ ยาจะถูกดูดซึมน้อย ประสิทธิภาพของยาจะลดลง
ยาบางชนิดใช้พร้อมกันไม่ได้
เพราะจะทำปฏิกิริยาต่อกัน
ยาบางอย่างเสริมฤทธิ์กัน และอาจเกิดอาการเป็นพิษจากฤทธิ์ยามากเกินไป ยาบางอย่างต้านฤทธิ์กัน ทำให้การใช้ยาไม่มีประสิทธิภาพ ยาเมื่อเข้าสู่ร่างกายทั้งโดยการกินหรือการฉีด
สารในตัวยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่ระบบโลหิต แล้วกระจายไปสู่เซลล์ต่าง ๆ
ยาแต่ละตัวจะมีช่วงเวลาออกฤทธิ์ในร่างกายไม่เท่ากัน อาจจะเป็นนาที ชั่วโมง เป็นวันหรือหลายวัน การกินยาไม่ตรงเวลาสำหรับยาบางชนิดจึงสำคัญมาก
หากต้องการให้ยามีฤทธิ์อย่างเพียงพอในร่างกายควรตรงเวลา จึงจะสามารถรักษาโรคได้ หากกินยาไม่ตรงเวลา
ทำให้บางช่วงเวลายามีฤทธิ์อยู่ในร่างกายน้อยเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพของยาไม่ดี
และยังทำให้เกิดการดื้อยาได้ด้วย
ข้อมูล มูลนิธิหมอชาวบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น