การเปลี่ยนแปลงของทรวงอกไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องร้ายโดยอัตโนมัติ แต่สตรีควรให้แพทย์ค้นหาสาเหตุที่แน่นอน
เพื่อให้สามารถตัดการป่วยเป็นมะเร็งเต้านมออกไป Dr.
Gabriel Küpper หัวหน้าแพทย์ของคลินิกรักษานรีเวชศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ทรวงอก Euregio-Brust-Zentrum
ที่โรงพยาบาลเซนต์อันโทนิอุสแห่งเมือง
Eschweiler ย้ำว่าการตระหนักถึงมะเร็งเต้านมทันเวลาสำคัญ
เพื่อให้สามารถรักษาโรคนี้ได้
ไม่ใช่ว่าก้อนเนื้องอกทุกก้อนในทรวงอกจะหมายถึงมะเร็งเต้านมโดยอัตโนมัติ เธออธิบายว่าตามจริงชิ้นเนื้อ ๔ จาก ๕
ที่ได้รับการตรวจสอบเป็นเนื้อดี ยิ่งผู้ป่วยอายุน้อยเท่าใด
ความเป็นไปได้ที่ก้อนเนื้อจะไม่สร้างความวิตกกังวลก็ยิ่งสูงเท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงของทรวงอกสามารถสังเกตได้จากความเจ็บ การแข็งขึ้นหรือมีก้อน
มีของเหลวไหลจากหัวนมมากขึ้น ความรู้สึกตึง ๆ สืบเนื่องจากรอบเดือนหรือความเจ็บในทรวงอก ความไวต่อสัมผัสของทรวงอก
การติดเชื้อของผิวหนังหรือหัวนม
ประเมินว่า ๑๐% ของสตรีทั้งหมดในวัย
๑๕-๓๕ ปีพัฒนาสิ่งที่เรียกว่า Fibroadenom ซึ่งเป็นก้อนเนื้อชนิดดีของต่อมและเนื้อเยื่อของทรวงอก ตราบใดที่ยังมีขนาดเล็ก ปกติไม่ต้องรักษา
หากมีปัญหาและมันโตขึ้นต่อไปสามารถเอาออกได้ด้วยการผ่าตัด นอกจากนั้น
อาการป่วยที่ไม่ใช่มะเร็งก็ยังได้แก่ ก้อนไขมัน การติดเชื้อของทรวงอก ซีสต์ ฯลฯ
ตรงกันข้ามกับมะเร็งเต้านม (Mammakarzinom)
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ในกรณีส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอันตรายต่อชีวิต
ในบางกรณีการเปลี่ยนแปลงของต่อมทรวงอกมีความเกี่ยวพันกับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านม แต่มะเร็งเต้านมหรือการสร้างตัวใหม่ที่ไม่ดีของเนื้อเยื่อของต่อมทรวงอกเป็นอันตรายต่อชีวิต เนื่องจากอันตรายของการแพร่กระจาย
เนื้อเยื่อที่เติบโตแบบป่วยทำลายเนื้อเยื่อต่อมทรวงอกที่ดีและสามารถลุกลามไปยังอวัยวะอื่น
ๆ ได้
มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบบ่อยที่สุดในสตรีวัยกลางคน Dr.
Küpper โฆษณาให้ทำการตรวจเป็นประจำ บางกรณีด้วยกระบวนการตรวจสอบพิเศษ
โดยมันสร้างความเป็นไปได้ที่จะตระหนักทันเวลาถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงในทางร้ายของทรวงอก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีสมาชิกครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมแล้ว เนื่องจากโรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เธอชี้แจงว่าโดยพื้นฐานวัยที่เพิ่มขึ้นทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม ดังนั้น สตรีวัยตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไปจึงได้รับการแนะนำให้ไปพบนรีแพทย์เป็นประจำและรับการตรวจ
เพื่อให้พบมะเร็งเต้านมทันเวลา นอกจากนั้น สตรีวัยตั้งแต่ ๕๐-๖๙ ปีจะได้รับการเชื้อเชิญให้ไปทำการตรวจป้องกันมะเร็งเต้านมเป็นประจำทุก
ๆ ๒ ปีภายใต้กรอบโครงการแมมโมแกรมสกรีนนิงทั่วประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น