พลาสติกที่ดีกว่าเดิม รีไซเคิลมากขึ้น ขยะน้อยลง ฯลฯ
คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปประสงค์จะปกป้องประชาชนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ด้วยยุทธวิธีที่ครอบคลุมและขณะเดียวกันก็ช่วยขอบข่ายงานที่ใช้ประโยชน์จากขยะในยุโรปให้กระเตื้องขึ้น จนกว่าจะถึงปี ๒๐๓๐ บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกทั้งหมดควรมีการนำไปใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง Frans Timmermans รองประธานคณะกรรมาธิการชี้แจงที่
Straßburg เมื่อวันที่ ๑๖
มกราคมที่ผ่านมา ว่าเราต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้พลาสติกถูกทิ้งปนเปื้อนในน้ำ อาหาร และถึงกับเข้าวงจรกลับสู่ร่างกายของเรา
ตามข้อมูลของคณะกรรมาธิการ พบว่าทั่วยุโรปสร้างขยะพลาสติกในแต่ละปีประมาณ ๒๖ ล้านตัน เพียง ๓๐% ในจำนวนนี้ ถูกรวบรวมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง ที่เหลืออีก ๗๐% ถูกทิ้งที่กองขยะ ที่โรงงานเผาหรือทิ้งขว้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน แม่น้ำ มหาสมุทร
เรื่องหัวข้อขยะนี้ถือว่าร้อนแรงเป็นพิเศษนับแต่ต้นปี 2018 เนื่องจากประเทศจีนยุติการนำเข้าขยะพลาสติก ลำพังประเทศเยอรมันจนถึงปัจจุบันส่งออกขยะพลาสติกไปยังประเทศจีนราว ๕๖๐,๐๐๐ ตันต่อปี ซึ่งขณะนี้ต้องถูกรีไซเคิลหรือเผาทิ้ง
Jyrki Katainen ผู้ร่วมงานของ Timmermans กล่าวว่าเป้าหมายในกลยุทธ์เรื่องของพลาสติก คือ ให้การรีไซเคิลในยุโรปควรได้มูลค่าเป็นกำไรด้วย เขาระบุสองเหตุผลที่จนถึงปัจจุบันทำไม่สำเร็จ ได้แก่ ยังไม่มีมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวในงานรีไซเคิลพลาสติก และทำให้เกิดข้อข้องใจเกี่ยวกับคุณภาพ และวัสดุที่ออกมาก็แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เนื่องจากในบรรจุภัณฑ์มีการผสมสีหรือสารเคมีเข้าไป คณะกรรมาธิการวางแผนกฎใหม่สำหรับอุตสาหกรรม เพื่อให้พลาสติกนำไปใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่งได้ง่ายขึ้น จนกว่าจะถึงปี ๒๐๒๐ คณะกรรมาธิการให้สัญญาเงินช่วย ๑๐๐ ล้านยูโรในการวิจัยพัฒนาให้เป็นวัสดุที่ดีกว่าเดิม นอกจากนั้น ยังจะให้มีสถานที่รวบรวมและแยกแยะขยะพลาสติกทั่วยุโรป เพื่อให้การรีไซเคิลถูกลงถึง ๑๐๐ ยูโรต่อตัน จนกว่าจะถึงปี ๒๐๓๐ สามารถมีตำแหน่งงานใหม่ในการแยกและใช้ประโยชน์ ๒๐๐,๐๐๐ ตำแหน่ง มีเสียงสะท้อนทางบวกจากพรรคเขียวในสหภาพยุโรป รวมทั้งสมาคมสิ่งแวดล้อม เช่น Nabu หรือ BUND แต่ WWF ชี้แจงว่าสหภาพยุโรปต้องเร่งลงมือให้เร็วขึ้น และมีความชัดเจนขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยุติปัญหาในความรับผิดชอบโดยเฉพาะเขตประเทศยุโรป ในภาพรวมปัญหาขยะพลาสติกระดับโลก
ตามข้อมูลของคณะกรรมาธิการ พบว่าทั่วยุโรปสร้างขยะพลาสติกในแต่ละปีประมาณ ๒๖ ล้านตัน เพียง ๓๐% ในจำนวนนี้ ถูกรวบรวมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่ง ที่เหลืออีก ๗๐% ถูกทิ้งที่กองขยะ ที่โรงงานเผาหรือทิ้งขว้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน แม่น้ำ มหาสมุทร
เรื่องหัวข้อขยะนี้ถือว่าร้อนแรงเป็นพิเศษนับแต่ต้นปี 2018 เนื่องจากประเทศจีนยุติการนำเข้าขยะพลาสติก ลำพังประเทศเยอรมันจนถึงปัจจุบันส่งออกขยะพลาสติกไปยังประเทศจีนราว ๕๖๐,๐๐๐ ตันต่อปี ซึ่งขณะนี้ต้องถูกรีไซเคิลหรือเผาทิ้ง
Jyrki Katainen ผู้ร่วมงานของ Timmermans กล่าวว่าเป้าหมายในกลยุทธ์เรื่องของพลาสติก คือ ให้การรีไซเคิลในยุโรปควรได้มูลค่าเป็นกำไรด้วย เขาระบุสองเหตุผลที่จนถึงปัจจุบันทำไม่สำเร็จ ได้แก่ ยังไม่มีมาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียวในงานรีไซเคิลพลาสติก และทำให้เกิดข้อข้องใจเกี่ยวกับคุณภาพ และวัสดุที่ออกมาก็แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เนื่องจากในบรรจุภัณฑ์มีการผสมสีหรือสารเคมีเข้าไป คณะกรรมาธิการวางแผนกฎใหม่สำหรับอุตสาหกรรม เพื่อให้พลาสติกนำไปใช้ประโยชน์อีกครั้งหนึ่งได้ง่ายขึ้น จนกว่าจะถึงปี ๒๐๒๐ คณะกรรมาธิการให้สัญญาเงินช่วย ๑๐๐ ล้านยูโรในการวิจัยพัฒนาให้เป็นวัสดุที่ดีกว่าเดิม นอกจากนั้น ยังจะให้มีสถานที่รวบรวมและแยกแยะขยะพลาสติกทั่วยุโรป เพื่อให้การรีไซเคิลถูกลงถึง ๑๐๐ ยูโรต่อตัน จนกว่าจะถึงปี ๒๐๓๐ สามารถมีตำแหน่งงานใหม่ในการแยกและใช้ประโยชน์ ๒๐๐,๐๐๐ ตำแหน่ง มีเสียงสะท้อนทางบวกจากพรรคเขียวในสหภาพยุโรป รวมทั้งสมาคมสิ่งแวดล้อม เช่น Nabu หรือ BUND แต่ WWF ชี้แจงว่าสหภาพยุโรปต้องเร่งลงมือให้เร็วขึ้น และมีความชัดเจนขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อยุติปัญหาในความรับผิดชอบโดยเฉพาะเขตประเทศยุโรป ในภาพรวมปัญหาขยะพลาสติกระดับโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น