กินอย่างไรเมื่อความดันโลหิตสูง
คนที่มีความดันโลหิตสูงมักได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ลดอาหารเค็ม คำว่า “เค็ม” ไม่ได้หมายถึงเกลือทะเลหรือเกลือสินเธาว์สีขาว
ๆ เท่านั้น แต่หมายถึง “โซเดียม” ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเกลือแกงที่ให้รสเค็ม
และโซเดียมที่ว่านี้นอกจากอยู่คู่กับเกลือรสเค็มแล้ว ยังอยู่ในรูปของเครื่องปรุงอาหารอื่นๆ อีกหลายชนิดที่เรานึกไม่ถึง
เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว ผงชูรส ผงน้ำซุป ผงฟู ที่ใช้ทำขนมปังหรือขนมเค้กต่างๆ
เป็นต้น การกินโซเดียมมากจะไปทำให้ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้น เมื่อเลือดเพิ่มขึ้นก็ทำให้ผนังหลอดเลือกแดงตึงมากขึ้น จึงทำให้ความดันเลือดสูงขึ้นนั่นเอง การกินโซเดียมลดลงจึงมีส่วนในการรักษาความดันโลหิตได้ โดยทั่วไปคนเราต้องการโซเดียมปริมาณวันละ ๒,๔๐๐
มิลลิกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณโซเดียมในเกลือแกง ๑ ช้อนชาเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง
เกลือไม่ได้เป็นแหล่งของโซเดียมเพียงแห่งเดียว เครื่องปรุงรสทุกชนิดก็มีโซเดียมอยู่
โดยเฉพาะน้ำปลา/ซีอิ๊ว ๑ ช้อนชามีโซเดียมปริมาณ ๓๕๐-๕๐๐ มิลลิกรัม ดังนั้น เราควรระวังการใช้เครื่องปรุงรสในอาหาร
แนวทางลดการกินโซเดียม
๑. หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด
ควรชิมอาหารก่อนที่จะเติมเครื่องปรุง จำไว้ว่าน้ำปลาหรือซีอิ๊ว ๑ ช้อนมีโซเดียมปริมาณ
๓๕๐-๕๐๐ มิลลิกรัม
๒. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่ใส่น้ำมากๆ
แล้วเติมเกลือหรือเครื่องปรุงรสจัด เช่น กินผัดผักดีกว่าน้ำซุปปรุงรสจัด กินก๋วยเตี๋ยวแห้งดีกว่าก๋วยเตี๋ยวน้ำ
๓. หลีกเลี่ยงอาหารหมักดองและอาหารแปรรูป อาหารประเภทเดียวกันเมื่อทำการแปรรูปจะมีโซเดียมสูงขึ้นกว่า
๑๐ เท่าตัว เช่น เนื้อหมูต้มมีโซเดียม ๕๐-๘๐ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัม เมื่อทำเป็นหมูยอมีโซเดียม ๗๕๐-๘๐๐ มิลลิกรัมต่อ
๑๐๐ กรัม
๔. หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป
เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ๑ ซอง
หากผสมเครื่องปรงุรสทั้งหมดจะมีปริมาณโซเดียมประมาณ ๑,๐๐๐-๑,๘๐๐
มิลลิกรัม
จึงไม่ควรใส่เครื่องปรุงจนหมดซทดลองปรุงอาหารโดยใช้ปริมาณเกลือ/น้ำปลา/เครื่องปรุงรสอื่นๆ
เพียงครึ่งหนึ่งที่กำหนดไว้ในสูตรอาหาร
ถ้ารสชาติไม่อร่อยจริงๆ จึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณของเครื่องปรุงรสเหล่านั้น
หรือกินอาหารที่มีรสเปรี้ยวหรือเผ็ดนำแทนรสเค็ม
๖. ลดการกินขนมหวานที่มีส่วนประกอบของเกลือ
เช่น ข้าวหลาม ข้าวเหนียวมูน
๗. หลีกเลี่ยงขนมขบเคี้ยว
เพราะส่วนใหญ่ใช้เครื่องปรุงรสในปริมาณมาก
ก่อนกินควรอ่านฉลากโภชนาการ
โดยให้เลือกขนมขบเคี้ยวที่มีโซเดียมน้อยกว่า ๒๐๐ มิลลิกรัมต่อ ๑
หน่วยบริโภค
ข้อมูล มูลนิธิหมอชาวบ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น