ตั้งแต่มาใช้ชีวิตอยู่ประเทศเยอรมันเป็นเวลาหลายปีดีดัก
ผู้เขียนได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหย่าร้างของ คนรู้จักสนิทบ้าง ไม่สนิทบ้าง
มาแล้วสองสามราย ได้ยินข่าวเกี่ยวกับการหย่าร้างของคนรู้จักอีกหลายต่อหลายราย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ เนื่องจากว่าตามสถิติของประเทศเยอรมัน
คู่สมรสทุก ๑ ใน ๓ คู่หย่าร้างกัน
แปลว่าพวกเราแต่ละคนต้องเคยรู้จักใครบางคนหรือหลายคนที่เคยหย่ามาแล้วหรือแม้แต่บุคคลในแวดวงญาติพี่น้อง
แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังคงมีความเข้าใจผิดกันอยู่ในเรื่องเงื่อนไขของการหย่าร้าง วันนี้ก็เลยอยากพูดคุยเกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่มักพบเจอบ่อย
ๆ เวลามีคนมาปรึกษาเรื่องอยากจะหย่า
๑.
แต่งงานก้นหม้อไม่ทันจะดำก็หย่าเสียแล้ว
ไม่ว่าการแต่งงานจะดำเนินมายาวนานแค่ใด
๒๕ ปีหรือแค่ครึ่งปี
เงื่อนไขสำหรับการหย่าร้างโดยสมยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย ตามกฎหมายโดยพื้นฐานแล้วทำได้ต่อเมื่อปีที่แยกทางกันสิ้นสุดลง
หรือที่เรียกในภาษาเยอรมันว่า "Trennungsjahr" ได้แก่
การที่ฝ่ายชายและหญิงได้ใช้ชีวิตแยกกันนับเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ ปี
การหย่าร้างก่อนเวลาโดยไม่คงไว้ของปีที่แยกทางกันสามารถเป็นไปได้ก็เพียงหากมีเหตุผลที่หนักหนาสาหัสบางประการ
ตัวอย่างก็เช่น กรณีใช้กำลังความรุนแรงอย่างหนักและสม่ำเสมอหรือหากคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจ้องจะเอาชีวิตของอีกฝ่าย ดังนั้น
การหย่าร้างอย่างรวดเร็วสายฟ้าแล่บจึงเป็นเพียงข้อยกเว้นและในทางปฏิบัติไม่ค่อยเกิดขึ้น
๒. ต้องรายงานปีที่แยกทางกัน
การแยกทางกันเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามจริง
นั่นคือ คู่สมรสแยกกันอยู่
อาจจะยังอยู่ในโวนุงที่เป็นเจ้าของร่วมกันหรือผ่านการย้ายออกของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และนับแต่นั้นก็ใช้ชีวิตแยกกัน ซึ่งทำให้เป็นการเริ่มต้นของปีที่แยกทางกัน ดังนั้น
สำหรับการเริ่มต้นของปีที่แยกทางกันจึงไม่จำเป็นต้องมีการชี้แจงอย่างเป็นทางการในลักษณะของการรายงานต่อสำนักงานราชการแห่งใดแห่งหนึ่งหรือต่อทนายความ
๓.
ทนายความคนเดียวสามารถเป็นตัวแทนของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
การยื่นคำร้องขอหย่าร้างของคู่สมรสต้องได้รับการยื่นจากทนายความ ดังนั้น
แม้ว่าคู่สมรสจะยินยอมพร้อมใจกันหย่าร้างอย่างสันติ แต่อย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่สมรสต้องยื่นคำร้องขอหย่าร้างและต้องมีทนายความเป็นผู้แทนทำให้
ตราบใดที่คู่สมรสอีกฝ่ายไม่ประสงค์จะยื่นคำร้องขอหย่าร้างเอง ก็สามารถยอมรับคำร้องขอหย่าร้างของอีกฝ่าย
ในกรณีนี้การหย่าร้างสามารถเกิดตามมาด้วยทนายความเพียงคนเดียว แต่ทนายความจะเป็นผู้แทนให้กับฝ่ายที่ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการคนเดียวเท่านั้น ไม่ได้ทำให้กับคู่สมรสทั้งสองฝ่ายร่วมกัน ที่ควรคำนึงถึงคือ
ฝ่ายที่ยื่นคำร้องเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบค่าทนาย
ดังนั้น แม้ว่าค่าศาลจะถูกแบ่งครึ่งให้จ่ายร่วมกัน แต่ค่าใช้จ่ายสำหรับทนาย
ผู้ยื่นคำร้องเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียว
๔.
หลังการหย่าร้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดต้องรับผิดสำหรับทั้งหมดที่อีกฝ่ายทำ
ในฐานะคู่สมรส
ฝ่ายสามีหรือภรรยาไม่ต้องรับผิด ไม่ว่าระหว่างการสมรสหรือหลังการหย่าร้างสำหรับทั้งหมดที่อีกฝ่ายทำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามีหรือภรรยาไม่ต้องรับผิดโดยอัตโนมัติ หากระหว่างการสมรสหรือหลังการหย่าร้าง
อีกฝ่ายทำการกู้เงินคือการสร้างหนี้
โดยพื้นฐานแล้วคู่สมรสต้องรับผิดร่วมกัน –
โดยไม่ขึ้นกับว่ายังใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันหรือแยกกันอยู่-
ในเรื่องที่ผูกมัดที่ทำร่วมกันด้วยเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ร่วมลงนามในสัญญากู้เงินหรือลงนามในสัญญาซื้อ
ทั้งสี่ข้อนี้
เป็นเรื่องที่เจอบ่อยมากกก...เวลาใครมาปรึกษา
(ยังกะว่าข้าเจ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นทนายความก็ไม่ปาน)
พอดีไปอ่านเจอและตรงกับใจที่คิดไว้ว่าอาจจะพูดถึงอยู่พอดี
ก็เอามาขยายความต่อตามประสาไม่ชอบเก็บเรื่องที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนไว้คนเดียว แต่ไม่ได้หมายถึงว่าจะยุยงให้ใครแยกทางหรือหย่าร้างกันนะจ๊ะ
อยู่ด้วยกัน รักกันไว้ให้มาก ๆ น่ะ ดีแล้ววว
คือปวดหัวมากเวลาใครมาบ่นหรือระบายความทุกข์ ขอบอกเลยค่ะ
ข้อมูล Aachener Zeitung
เรียบเรียงโดย “เอื้อยอ้าย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น