วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ไหน ๆ ก็มีแต่เสียงประทัด เสียงพลุ
ดอกไม้ไฟ ที่ถูกยิงขึ้นฟ้าลูกแล้วลูกเล่า
คนส่วนมากก็ชอบเสียด้วย และฉลองกันจนฟ้าสางทีเดียว แต่อีกจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกว่าช่างกวนประสาท
และต้องเอาหมอนปิดหูเพื่อให้นอนให้หลับ
หากบุคคลทั้งสองประเภทอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันก็อาจมีปัญหาได้
แต่ก็ไม่จำเป็นต้องให้เกิดปัญหาก็ได้ Ulrich
Ropertz จากสมาคมผู้เช่าเยอรมัน ที่เบอร์ลินกล่าวว่า สำหรับคืนวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ควรเกรงใจซึ่งกันและกัน
พวกที่ไม่ชอบเฉลิมฉลองในคืนนี้ก็ควรมีขอบเขตความอดทนที่ขยายกว้างกว่าเดิม ขณะเดียวกันสำหรับพวกที่ชอบปาร์ตีเฉลิมฉลองอย่างสนุกสนานก็ควรคำนึงว่าแม้แต่ในวันที่
๓๑ ธันวาคมก็ไม่ใช่ว่าจะส่งเสียงดังฉลองกันได้แบบไม่เลิกรา ต่อไปนี้เป็นคำตอบต่อคำถามที่มักได้รับการถามบ่อย
ๆ
ตั้งแต่เมื่อไหร่ที่ต้องเลิกส่งเสียงดัง
ตามกฎหมายในวันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ก็ไม่มีข้อยกเว้น โดยตั้งแต่ ๒๒.๐๐
นาฬิกาเป็นต้นไปต้องเงียบสงบ
ซึ่งหมายถึงว่าได้รับอนุญาตให้ฉลองกันเงียบ ๆ
ไม่ดังจนเพื่อนบ้านได้ยิน
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เป็นเช่นนั้น หากในเวลาเที่ยงคืนมีการจุดประทัด
พลุ ดอกไม้ไฟกันก็เป็นไปไม่ได้ที่เพื่อนบ้านจะไม่ได้ยิน
ท้ายสุดเสียงในสภาพแวดล้อมดังกว่าเสียงที่ดังออกมาจากบ้านที่พักเพื่อนบ้านถึงสิบเท่า
ต้องประกาศการเฉลิมฉลองล่วงหน้าหรือไม่ ไม่ต้อง
เนื่องจากตามกฎหมายการบ่งบอกแบบนี้ไม่มีความหมาย
อย่างไรก็ดี Norbert Schoenleber ทนายความจากโคโลญน์และอยู่ในคณะกรรมการของคณะทำงานกฎหมายการเช่าและอสังหาริมทรัพย์ของสมาคมทนายความเยอรมัน
(DAV)
แนะนำว่าเพื่อแสดงท่าทีที่เป็นมิตร อาจบอกกล่าวเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้ให้รู้ไว้ ผู้ที่ได้รับการแจ้งข่าวหรือถึงกับได้รับเชิญไปร่วมงานเอง สันนิษฐานว่าน่าจะมีความอดทนกับเสียงเอะอะได้มากกว่า แต่การแจ้งให้รู้ ก็ไม่ทำให้มีสิทธิส่งเสียงดังมากกว่าปกติ Julia Wagner จากสมาคม
Haus & Grund Deutschland ที่เบอร์ลินกล่าวว่าถึงหากจะแจ้งว่าจะมีปาร์ตี
เพื่อนบ้านก็ยังคงสามารถเรียกร้องให้เปิดเพลงค่อย ๆ ตั้งแต่เวลา ๒๒.๐๐
นาฬิกาเป็นต้นไปได้
ที่ใดที่ได้รับอนุญาตให้จุดพลุ
ประทัด ดอกไม้ไฟได้
กฎหมายห้ามการจุดดอกไม้ไฟในบริเวณโรงพยาบาล โบสถ์ บ้านพักเด็ก และบ้านพักคนชรา
รวมทั้ง บ้านที่มีหลังคาหญ้าและบ้านไม้
ในบางเมืองและหมู่บ้านมีเขตที่ห้ามจุดดอกไม้ไฟอื่น ๆ ด้วย มิฉะนั้น ก็ไม่มีข้อจำกัด Ropertz กล่าวว่าตามกฎหมายการเช่า
ไม่สำคัญว่าจะจุดจากลานบ้าน ระเบียงหรือจากถนน
แต่ต้องระมัดระวังว่าไม่มีเพื่อนบ้านได้รับอันตรายจากการนั้น
ผู้ใดรับผิดชอบความเสียหาย หากแขกที่มาร่วมงานปาร์ตีทำแก้วแชมเปญแตก
ประกันของผู้นั้นเป็นคนจ่าย ตรงกันข้าม
หากไม่รู้แน่ว่าใครเป็นผู้ทำ ผู้ได้รับความเสียหายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง Schoenleber กล่าวว่าในฐานะเจ้าภาพงานปาร์ตีต้องรับผิดชอบสำหรับทุกคนที่เชิญมาร่วมงาน
หากพิสูจน์ได้ว่าแขกคนใดคนหนึ่งของผู้เช่าเป็นผู้สร้างความเสียหายที่โถงทางเดินของบ้าน
ผู้เช่าคนนั้นต้องรับผิดชอบในฐานะเจ้าภาพ
โดยทั่วไปถือว่าผู้ที่สร้างความเสียหายด้วยความสะเพร่าเลินเล่อไม่สามารถเรียกร้องให้ประกันรับผิดชอบ Ulrich Ropertz กล่าวว่าหากจงใจจุดเล่นในที่พักจนเกิดความเสียหาย
ก็ไม่สามารถจะพูดได้ว่าประกันเป็นผู้จ่าย แต่ต้องรับผิดชอบเอง
ใครเป็นผู้กำจัดความสกปรก ทนายความ Schönleber ยกตัวอย่างว่าผู้ที่เป็นต้นเหตุทำให้โถงทางเดินสกปรก
ก็ต้องมีหน้าที่ขจัดความสกปรกนั้นออกไปด้วย
สิ่งของที่เกินกว่าการใช้งานปกติก็ต้องเอาออกไป เพื่อให้เกิดความสะอาดตามสมควร ซึ่งมีผลถึงทุกอย่างที่อยู่ในบริเวณที่ดิน
ฮืมม ตามจริงก็เป็นเรื่องปกติที่ทุกคนน่าจะสำนึกได้ด้วยตัวเอง
ตามหลักอกเขาอกเรา ไม่ต้องออกมาบอกกล่าวกันซ้ำซากทุกปี แต่พวกเกรียน ๆ เด็กแนว
ขาสก๊อยนี่ก็ไม่วายมีอยู่ในทุกสังคม ก็ขอให้ผู้อ่าน “ชาวไทย” ทุกท่านส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่กันด้วยความสดชื่นรื่นเริงบันเทิงใจ
มีความสุขกันถ้วนหน้าเทอญ
เรียบเรียงโดย “เอื้อยอ้าย”
ข้อมูล Aachener Zeitung
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น