ชาวเยอรมัน ๘๑% มีความตั้งใจจะลดความสุรุ่ยสุร่ายกับอาหาร ทั้งนี้
มาจากการศึกษาของสมาคมเพื่อการวิจัยการบริโภคของกระทรวงอาหาร
โดยตามการศึกษา สตรี ๘๕.๖% และบุรุษ
๗๒.๒% ระบุว่าประสงค์จะไม่สร้างขยะอาหาร
ตามการประเมินของ Christian
Schmidt รัฐมนตรีกระทรวงอาหาร อุตสาหกรรม การค้า
ผู้บริโภครายใหญ่และครัวเรือนทั่วไปทิ้งขยะอาหารในปีนี้ ๑๑ ล้านตัน เขากล่าวว่าในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ชาวเยอรมันมีความสำนึกเรื่องการกินทิ้งขว้างอาหารเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นความสำเร็จของความคิดริเริ่มสร้างสรร “Zu
gut für die Tonne!” (ดีเกินไปที่จะทิ้งลงถังขยะ !) ที่ตามการสอบถามเป็นที่รู้จักมากขึ้นทุกที
กระนั้น ปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งเท่ากับขนาดรถบรรทุกใหญ่ ๒๗๕,๐๐๐ คัน นายชมิดท์เน้นว่า สองในสามของปริมาณการทิ้งอาหารนี้สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตามการศึกษา ผู้ถูกสอบถาม ๘๕.๕%
มีความเห็นว่าผู้บริโภคเป็นผู้รับผิดชอบสำหรับส่วนใหญ่ของขยะอาหาร ๙๑.๔% สำนึกว่าอาหารคือทรัพยากรที่มีคุณค่าเช่นเดียวกับน้ำ
พลังงาน และผืนดิน บุคคลสูงอายุ (๘๕.๔%)
กระตือรือล้นในการหลีกเลี่ยงการทิ้งอาหารมากกว่าผู้มีอายุน้อย (๗๕.๘%) บุคคลในแคว้นใหม่ (๘๗.๗%)
ก็ต่อต้านการสุรุ่ยสุร่ายเรื่องอาหารมากกว่าบุคคลในแคว้นเก่า (๗๙.๓%) ๓๔% ประสงค์จะระมัดระวังการเก็บตุนอาหารให้ดีกว่าเดิม ๕๒% จะใช้อาหารที่เหลือมาเพิ่มค่าให้ดีขึ้นอีกครั้ง
ตามการศึกษาของกระทรวงอาหาร
พบว่าอาหาร ทุก ๑ ใน ๘ ชิ้น ที่มีการซื้อมาถูกทิ้งลงขยะ อาหารที่ถูกทิ้งลงขยะบ่อยที่สุด ได้แก่
ผลไม้และผัก (๔๔%) ตามมาด้วยขนมอบ เช่น เค้ก (๑๕%)
อาหารเหลือ (๑๒%) และผลิตภัณฑ์นม (๘%) และทั่วโลกแต่ละปีมีการทิ้งขว้างอาหาร ๑.๓
พันล้านตัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น