“ความทะยานใฝ่หาความสุข”
ไม่ได้ระบุในฐานะสิทธิในคำประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่องค์การสหประชาชาติก็ได้ระบุในฐานะ
“เป้าหมายพื้นฐานของมนุษย์”
จึงมีคำถามที่ต้องการคำตอบสำหรับเป้าหมายนี้
-
มีความคิดอย่างไรจึงได้ให้กำเนิดวันความสุขโลก ? ในปี ๑๙๘๐
ทารกเกิดใหม่นอนหมดเรี่ยวแรงด้วยความหิวโหยและกระหายอยู่บนถนนที่เต็มไปด้วยฝุ่นในเมือง
Kolkata ประเทศอินเดียและตกอยู่ในอันตรายว่าจะเสียชีวิตภายในไม่กี่วัน แต่ผู้ร่วมงานองค์การให้ความช่วยเหลือของแม่ชีเทเรซาได้รับตัวเด็กชายเล็ก
ๆ ไว้ และตั้งชื่อให้ว่า “อาดัม”
เช่นเดียวกับมนุษย์คนแรกตามคำบรรยายในหนังสือไบเบิล
ในวัยสองสัปดาห์สตรีชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้รับเขาเป็นบุตรบุญธรรม เขามีนามใหม่ว่า Jayme
Illien จากเด็กชายเขากลายเป็นบุรุษหนุ่มที่ประสงค์จะแบ่งปันความสุขของเขากับผู้อื่น เขารับมอบผู้อำนวยการองค์การเพื่อการรับบุตรบุญธรรม
ต่อมาเป็นที่ปรึกษาองค์การสหประชาชาติและดำเนินการเพื่อวันความสุขโลก ในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๐๑๒
เขาบรรลุเป้าหมาย
โดยองค์การสหประชาชาติได้ลงมติให้มีวันความสุขสากลในวันที่ ๒๐ มีนาคมของทุก
ๆ ปี
-
ความสุขคืออะไรกันแน่ ?
ในสายตาของนักชีวประสาทวิทยาเรารู้สึกมีความสุข
หากสารเคมีในร่างกายที่ผสมกันอย่างดีไหลผ่านสมอง ตัวอย่างเช่น
ในการสวมกอดและถึงจุดสุดยอดจะมีการหลั่ง Oxytocin
ออกมา
ในสตรีระหว่างการให้กำเนิดและในการให้นมบุตรด้วย ฮอร์โมนดังกล่าวทำให้เราผ่อนคลาย
เต็มไปด้วยความเชื่อมั่น หากมีการก่อตัวกันขึ้นของ Dopamin
เราจะรู้สึกมีความสุขด้วย โดยมันไปกระตุ้น “ศูนย์ให้รางวัลที่เป็นบวก”
ในสมอง ที่ตามจริงเรียกว่าระบบ mesolimbisch ซึ่งความรู้สึกมีความสุขจะเกิดขึ้นที่นั่น Dopamin มีบทบาทในการผลิต
Endorphinen ด้วย ในแง่หนึ่งมันเป็นยาเสพติดของร่างกายเอง เพียงแต่ไม่มีผลข้างเคียงที่หนักหน่วง Endorphine ลดความเจ็บป่วยและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากภายใต้สมองมันเชื่อมต่อกันเช่นนี้
การสวมกอดจึงสามารถช่วยให้หายเศร้าโศกและเซ็กส์ช่วยต่อต้านการปวดศีรษะ
-
ความสุขอยู่ในพันธุกรรมหรือเปล่า
? บางส่วนใช่ กุญแจสู่ความสุขมีว่า SLC6A4
สิ่งที่ดูเหมือนรหัสผ่าน
ในความเป็นจริงเป็นคำวิชาการสำหรับพันธุกรรมตัวหนึ่ง มีหน้าที่นำฮอร์โมน
Serotonin ต่อไปยังเซลล์ ทำให้เราผ่อนคลายและอารมณ์ดี นักวิชาการเชื่อว่าพันธุกรรมตัวนี้มีสองประเภท
ได้แก่ ประเภทยาวและประเภทสั้น
ผู้ที่มีพันธุกรรมตัวยาวจะมี Serotonin ในเซลล์มากกว่าและมองค่อนข้างเป็นบวก ส่วนพันธุกรรมแบบสั้นทำให้มีแนวโน้มต่อการมองโลกในแง่ร้าย
-
อะไรทำให้มีความสุขที่สุด ? ตามข้อมูลของนักวิชาการ
สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มั่นคง ความชอบพอและความรักส่งผลที่ยั่งยืนที่สุด
ผู้ที่รู้สึกได้รับการยอมรับในครอบครัวและในหมู่มิตรสหายจะจัดการกับช่วงชีวิตที่ยุ่งยากได้ง่ายกว่า
ผู้ที่ทำงานทางสังคมเฉลี่ยใช้ชีวิตอย่างมีความพึงพอใจมากกว่า นอกจากนั้น
ความร่ำรวยเมื่อผ่านพ้นเกณฑ์หนึ่งไปแล้วก็แทบไม่ทำให้มีความสุขเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการพื้นฐานต้องได้รับการตอบสนอง ในกรณีที่ดีที่สุดคือมีสะสมไว้บ้าง
นอกเหนือไปจากนี้แล้วความสุขก็เพิ่มขึ้นเพียงอย่างเชื่องช้ามาก
-
ที่ไหนที่ประชาชนในประเทศเยอรมันใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่สุด
?
ลมเหนือทำให้มีความสุข ตาม
“แผนที่ความสุข ปี ๒๐๑๗”
ประชาชนที่พึงพอใจที่สุดใช้ชีวิตที่ฮัมบวร์กและชเลสวิก-โฮลสไตน์ ตามระดับจาก ๐-๑๐ ชาวเยอรมันโดยรวมบรรลุค่า
๗.๐๗ ที่ชเลสวิก-โฮลสไตน์ได้รับคะแนน
๗.๔๓ ชาวเยอรมันจึงค่อนข้างแฮปปีและอยู่ในระดับราวนี้มาเป็นเวลาหลาย
ๆ ปีแล้ว
นักวิจัยสันนิษฐานว่าลักษณะความนึกคิดของเยอรมันเหนือมีนัยยะสำคัญต่อค่าตัวเลขวัดความสุขระดับชั้นนำนี้ แม้ว่าแคว้นต่าง ๆ
ในภาคตะวันออกจะอยู่ในลำดับท้าย ๆ
แต่ช่องว่างระหว่างตะวันออกและตะวันตกเหลือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยทิ้งห่างกันเพียง ๐.๖ คะแนนเท่านั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น