ในปี
๒๐๑๗ ประชากรราว ๑๙.๓ ล้านคนในประเทศเยอรมันมีรากมาจากการอพยพย้ายถิ่น
ตามการเปิดเผยของสำนักงานสถิติแห่งชาติโดยมีพื้นฐานจากการสำรวจประชากร ซึ่งเท่ากับการเพิ่มขึ้น ๔.๔% เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งมีความเป็นมาจากการอพยพหากบุคคลผู้นั้นหรืออย่างน้อยบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ถือกำเนิดพร้อมสัญชาติเยอรมัน
ในปี ๒๐๑๗ ราว ๕๑% ของประชากรเป็นชาวเยอรมันที่มีความเป็นมาจากการอพยพ
และราว ๔๙% จากจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติ เมื่อเปรียบเทียบกัน ในปี ๒๐๑๑
สัดส่วนของชาวต่างชาติจากประชากรที่มีความเป็นมาจากการอพยพยังอยู่ที่ ๔๒% ประชากร ๑๙.๓
ล้านคนที่มีความเป็นมาจากการอพยพในปี ๒๐๑๗ ราว ๒.๘ ล้านคน (คิดเป็น ๑๔%) เป็นชาวตุรกี ๒.๑ ล้านคน (คิดเป็น ๑๑%)
เป็นชาวโปแลนด์ ๑.๔ ล้านคน (คิดเป็น ๗%) เป็นชาวรัสเซีย ๑.๒ ล้านคน (คิดเป็น
๖%) เป็นชาวคาซัคสถานและ ๐.๙ ล้านคน (คิดเป็น ๔%) มีรากเหง้าโรมาเนีย นับจากปี
๒๐๑๗ การสำรวจประชากรได้ทำการศึกษาภาษาที่ใช้พูดกันส่วนใหญ่ในครัวเรือน จากครัวเรือนที่มีสมาชิกหลายคนรวมทั้งสิ้น ๒๔
ล้านครัวเรือนในประเทศเยอรมัน ๒.๕ ล้านครัวเรือนส่วนใหญ่ใช้ภาษาต่างด้าวกัน โดยภาษาที่ใช้บ่อยที่สุด คือ ตุรกี (๑๗%) รัสเซีย (๑๕%) โปแลนด์ (๘%)
และอาหรับ (๗%)
การที่ในบ้านใช้ภาษาเยอรมันหรือภาษาต่างด้าวสื่อสารกัน ขึ้นอยู่กับว่ามีบุคคลกี่คนในครัวเรือนที่มีความเป็นมาจากการอพยพ
ส่วนใหญ่ของครัวเรือนที่มีสมาชิกหลายคนและสมาชิกทุกคนมีรากเหง้าเป็นต่างชาติจะสื่อสารกันด้วยภาษาต่างด้าว
(๕๕%) ตรงกันข้าม
หากเพียงส่วนเดียวของสมาชิกในครัวเรือนมีรากเหง้าต่างชาติสัดส่วนนี้จะลดลงเหลือเพียง
๗% จากประชาชนที่มีความเป็นมาจากการอพยพที่ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศเยอรมัน
๑๙.๓ ล้านคน ราว ๑๓.๒ ล้านคนอพยพเข้ามาเอง
นับแต่ปี ๒๐๑๗
การสำรวจประชากรได้สอบถามบุคคลเหล่านี้ถึงเหตุผลหลักของการเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศเยอรมัน แรงจูงใจสำคัญที่สุด ได้แก่ เหตุผลสร้างครอบครัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น