แม้ว่าการบริโภคเนื้อสัตว์ทั่วโลกในรอบปีที่ผ่าน
ๆ มาและหลายสิบปีโดยรวมแล้วเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในประเทศเยอรมันล่าสุดสังเกตพบการเคลื่อนไหวในทางตรงกันข้ามในการบริโภคเนื้อสัตว์
แม้ว่าเนื้อสัตว์ยังคงรวมอยู่ในหนึ่งในอาหารที่เป็นที่ชื่นชอบมากที่สุดของชาวเยอรมันเช่นเดิม
แต่ท้ายสุดพลเมืองเยอรมันเฉลี่ยกินเนื้อสัตว์น้อยลง
ตามข้อมูลของกระทรวงอาหารและเกษตรกรรม ในปี
๒๐๑๗ การบริโภคอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์ ๖๐ กิโลกรัมต่อปี
การถดถอยมาจากการลดลงอย่างชัดเจนของการกินเนื้อหมู ชาวเยอรมันเฉลี่ยกินเนื้อหมูเพียงราว ๓๖
กิโลกรัมเท่านั้น ในขณะที่กินสัตว์ปีก
(ราว ๑๒ กิโลกรัม) และเนื้อวัว (๑๐ กิโลกรัม) ที่พบบ่อย ๆ แพงกว่าเพิ่มขึ้น
การละลดเนื้อสัตว์ของชาวเยอรมันตรงกันกับแนวโน้มทั่วไปในยุโรป
ตามคำกล่าวของ Anne Mottet นักพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ขององค์การสหประชาชาติ ที่ซึ่งมีการชี้แจงอย่างมากมายว่าเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูงไม่ถูกสุขลักษณะ
และข้อมูลเกี่ยวกับอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อการผลิต
เธอกล่าวว่าคนเราคิดว่าวันนี้ไม่ต้องกินสเต็กอีกก็ได้
Silvia Woll จากสถาบันวิจัย
KIT
ที่คาร์ลสรูเฮอร์มองเห็นการเปิดกว้างโดยทั่วไปสำหรับเนื้อสัตว์จากห้องทดลองในผู้บริโภคชาวเยอรมัน ไม่ว่าในผู้ไม่กินเนื้อสัตว์
ผู้กินแต่พืชผักและผู้กินเนื้อ
แต่เธอกล่าวว่าเนื้อสัตว์จากห้องทดลองอาจจะถูกสุขลักษณะและราคาถูกอย่างไรก็ได้
แต่ถ้ารสชาติไม่เหมือนเนื้อสัตว์ก็ขายไม่ออก
ปัญหาต่อไป คือ การเพาะเซลล์ไขมันที่สำคัญมากสำหรับรสชาติ เธอตัดสินว่าคำถามจำนวนมากเกี่ยวกับเนื้อสัตว์จากห้องทดลองในขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ เทคโนโลยีในด้านนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น
อาจเป็นไปได้ว่ามันจะไม่ออกมาสู่ตลาดเลยก็ได้ เนื่องจากไม่สามารถผลิตในปริมาณมากได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น