วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สมาร์ทโฟนกับสุขภาพ


          ปัจจุบันแนวโน้มของการใช้งานโทรศัพท์รูปแบบของสมาร์ทโฟนมีความทันสมัยมากขึ้น  จากปริมาณการใช้งานอย่างต่อเนื่องจึงอาจส่งผลต่าง ๆ ดังนี้ 
สมาร์ทโฟนกับการบาดเจ็บ
๑.  การใช้นิ้วจิ้ม  หากต้องกดตัวอักษรด้วยนิ้วโป้ง จะต้องงอและเกร็งนิ้วโป้งทั้งสองข้าง  การกดลักษณะนี้บ่อยๆ อาจส่งผลทำให้เป็นโรคกลุ่มอาการอักเสบของเอ็นข้อมือ นิ้วโป้งและการอักเสบของเอ็นนิ้วมือจนทำให้เกิดอาการนิ้วโป้งล็อค  ซึ่งพบได้บ่อย
๒. การถือสมาร์ทโฟนนานๆ ขณะใช้งานอาจส่งผลทำให้เกิดอาการปวดบ่าและคอ  เนื่องจากกล้ามเนื้อบ่าจะทำงานในลักษณะเกร็งคงค้าง
๓.  ตัวเครื่องสมาร์ทโฟนและตัวอักษรที่มีขนาดเล็ก ทำให้มองหน้าจอลำบาก  จึงต้องก้มคอเพื่อให้มองดูหน้าจอได้ถนัดขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อคอและสายตาต้องทำงานหนัก  ทำให้ปวดคอและตาได้
ความเครียดกับการใช้สมาร์ทโฟน  การรับข้อมูลข่าวสารที่ส่งมาบ่อยๆ อาจส่งผลต่อสมาธิในการทำงาน  หากบ่อยมากขึ้นอาจเป็นการรบกวนสมาธิการทำงานจนก่อให้เกิดความเครียดและการตึงตัวของกล้ามเนื้อ หายใจติดขัด  ภาวะความเครียดกับสมาร์ทโฟนนี้สามารถสังเกตุได้ชัดว่าเราเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่เครียด โดยมักจะมีความกังวลเมื่อลืมโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน  เมื่อเดินทางไกลแล้วไม่มีสัญญาณของโทรศัพท์  ถ้ามีลักษณะดังกล่าวถือว่าค่อนข้างเคียดกับการใช้โทรศัพท์
การใช้สมาร์ทโฟนอย่างปลอดภัย  คงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟน  ดังนั้นจึงควรรู้จักใช้  เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและห่างไกลจากการบาดเจ็บมากที่สุด ดังนี้
๑. ใช้งานพิมพ์ด้วยนิ้วมือเท่าที่จำเป็น
๒.   ใช้การพูดผ่านทางโทรศัพท์หรือข้อความเสียงแทนการพิมพ์
๓. หลีกเลี่ยงการใช้งานต่อเนื่องนานๆ อาจทำการพักบ้าง  เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อ
๔. ให้ยกสมาร์ทโฟนให้สูงขึ้น  เพื่อลดการก้มคอและศีรษะ  โดยอาจใช้หมอนรองแขนเพื่อลดการเกร็งตัวของบ่า
๕.   หากต้องการใช้สมาธิในการทำงานควรปิดการสื่อสารชั่วคราว
๖. ขณะพักให้ทำการยืดเหยียดนิ้วและแขนให้สุด สลับกับกำมือแน่นช้าๆ สัก ๑๐ ครั้ง หรืออาจทำการยืดคลายกล้ามเนื้อและเอ็นด้วยตนเองบ้าง
ข้อมูล มูลนิธิหมอชาวบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น