การปฏิวัติ เครื่องมือมหัศจรรย์ ชัยชนะ ฯลฯ ไม่มีการค้นพบทางวิชาการใดในปีที่ผ่าน ๆ มาที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงอย่างมากมายเหมือนการตัดต่อพันธุกรรม Crispr/Cas9 เครื่องมือของเทคนิคพันธุกรรมที่ตัดต่อแก้ไขพันธุกรรมของพืช สัตว์และมนุษย์เข้าสู่ห้องทดลองทั่วโลกด้วยความเร็วสูง ผู้ที่พัฒนากระบวนการนี้ ได้แก่ นักวิจัยสตรี ๒ คน Emmanuelle Charpentier นักจุลชีววิทยาชาวฝรั่งเศส วัย ๕๑ ปี ที่ขณะนี้ทำงานอยู่ที่สถาบัน Max Planck เพื่อชีววิทยาการติดเชื้อ ที่เบอร์ลิน และ Jennifer Doudna นักชีวเคมี ชาวอเมริกัน วัย ๕๖ ปี ทั้งสองได้รับรางวัลโนเบล สาขาเคมี เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคมที่ผ่านมา งานด้านวิชาการทั่วโลกเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญด้วยการพัฒนาเทคนิคการตัดต่อพันธุกรรม Crispr/Cas9 สามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดอย่างง่าย ๆ รวดเร็วและราคาถูกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าในแบคทีเรีย เช่นเดียวกับในพืช สัตว์ และมนุษย์ ภายในไม่กี่ปีเทคนิคตัดต่อพันธุกรรมกลายเป็นกระบวนการมาตรฐานทางชีวโมเลกุล ความเป็นไปได้ที่ตามมาก่อให้เกิดความหวังสูง ตัวอย่างเช่น การรักษาโรคมะเร็ง แต่ขณะเดียวกันก็นำไปสู่ความวิตกกังวลว่ามนุษย์จะเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างถาวร โดยที่ไม่สามารถควบคุมผลที่ตามมาได้อย่างสมบูรณ์ การมอบรางวัลจึงไม่ได้นำไปสู่ความยินดีปรีดาเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น