ตามการศึกษาใหม่
ส่วนใหญ่ของประชาชนสูงอายุในประเทศเยอรมันมองชีวิตตนเองด้วยความพึงพอใจ และมองสภาวการณ์เงินในบัญชีส่วนบุคคลเป็นบวก ทั้งนี้ เป็นผลการสอบถามเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่ภายใต้การมอบหมายของบริษัทประกันภัย
Generali ที่ได้รับการเสนอต่อสาธารณะเมื่อวันที่
๑ มีนาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ความห่างระหว่างชั้นในสังคมมีความแตกต่างสูงมาก ซึ่งส่งอิทธิพลต่อความรู้สึกในชีวิตของผู้มีวัย
๖๕-๘๕ ปีในประเทศเยอรมันอย่างรู้สึกได้
โดยประชาชนราว ๔,๑๐๐ คนได้รับการสอบถามเมื่อ ๑ ปีก่อน การวิเคราะห์ได้ผลว่า
-ความพึงพอใจในชีวิต ผู้สูงอายุร่วมกับเยาวชนเป็นรุ่นวัยที่มีความสุขที่สุดในประเทศเยอรมัน ๘๕% ของผู้ถูกสอบถามพึงพอใจกับชีวิต เพียง ๑ ใน ๑๐ แสดงความพอใจน้อย ทุก ๑ ใน ๑๐๐ คนถึงกับไม่พึงพอใจเลย ที่พึงพอใจสูงที่สุด ได้แก่
ผู้สูงวัยในแคว้นชเลสวิก-โฮลสไตน์
ที่ไม่พึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ ที่ Mecklenburg-Vorpommern โดยรวมคนกลุ่มวัยสูงไม่เพียงได้รับการวิเคราะห์ว่าเป็นบวกเท่านั้น ๑ ใน ๓ ของผู้ถูกสอบถามบอกว่า “มองเห็นโอกาสใหม่”
อีก ๑ ใน ๓ มีความเหนื่อยใจ ๑ ใน ๔ ตัดสินใจไม่ได้ในคำถามนี้
เงิน
ผู้ถูกสอบถามตัดสินสภาวการณ์เศรษฐกิจของตนเองโดยรวมดีกว่าในการสอบถามครั้งแรกในปี
๒๐๑๒ โดยมีเงินให้ใช้จ่าย ๖๒๘ ยูโรต่อเดือน มากกว่าเมื่อ ๔ ปีก่อนราว ๑๐๐ ยูโร
ในการสอบถามรายได้ของครัวเรือนสุทธิเฉลี่ยอยู่ที่ ๒,๔๑๐ ยูโร ในการมองเศรษฐกิจส่วนตัว ทุก ๑ ใน ๑๐ คนรับว่า
“ดีมาก” ราวครึ่งหนึ่ง “ดี” และ ๑ ใน ๓
“ใช้ได้” เพียง ๖% รู้สึกว่าแย่หรือแย่มาก อย่างไรก็ดี
มีความแตกต่างขึ้นอยู่กับระดับการศึกษา อาชีพและทรัพย์สิน
รายได้ที่มีให้ใช้จ่ายในผู้มีสถานะต่ำกว่าอยู่ที่เพียง ๓๕๑ ยูโรต่อเดือน
-งาน โดยรวมประชาชนมากขึ้นมีจำนวนชั่วโมงทำงานนานขึ้นกว่าสมัยก่อน ในปี ๒๐๑๒ ยังเป็น ๑๑% ของผู้ถูกสอบถาม ในปี ๒๐๑๕ ค่านี้เพิ่มขึ้นเป็น ๑๕%
ทำให้มากกว่า ๑ ใน ๔ ของผู้มีวัย ๖๕-๖๙
ปียังทำงานสม่ำเสมอ เฉลี่ยราว ๑๔
ชั่วโมงต่อสัปดาห์
โดยเป็นบุรุษมากกว่าสตรีเกือบสองเท่า
ในวัยระหว่าง ๗๐-๘๐ ปีผู้ถูกสอบถามราวทุก ๑ ใน ๑๐ คนก็ยังทำงาน เงินในฐานะแรงจูงใจอยู่อันดับที่ ๔ ที่อยู่อันดับแรก ได้แก่ ความสนุกในการทำงาน
ความสมบูรณ์ของจิตใจและร่างกาย รวมทั้งการติดต่อสัมพันธ์กับสังคม อันดับ ๖ ได้แก่ ความเบื่อหน่าย
สุขภาพ เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดของผู้มีวัย ๖๕
ปีขึ้นไป และบ่อยครั้งที่ได้รับการมองเป็นบวกด้วย ส่วนใหญ่รู้สึกอ่อนวัยกว่าอายุจริง ๗-๘ ปี คู่สมรสรู้สึกมีสุขภาพดีกว่าคนโสด เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงวัยเล่นกีฬา เมื่อ ๑๐ ปีก่อนยังน้อยกว่าหนึ่งในสาม
แนวโน้มแย่ลงในความรู้สึกเกี่ยวกับสภาพพลานามัยเริ่มขึ้นในวัย ๗๕ ปี แต่ตรงนี้สภาพทางสังคมก็มีบทบาทด้วย ราวครึ่งหนึ่งของผู้มีฐานะดีรู้สึกว่าตนเองแข็งแรง ในผู้มีรายได้ต่ำมีจำนวนเพียง ๑ ใน ๔ ราว ๑ ใน ๕ ของผู้ถูกสอบถาม
คู่ครองจำเป็นต้องได้รับการดูแลแล้ว
-เครือข่ายสังคม เพียงทุก ๑ ใน ๑๐๐
คนของผู้ถูกสอบถามกล่าวว่าไม่สามารถหันหาใครได้ในสภาวการณ์ที่แย่ ตรงกันช้าม ๑ ใน ๓ สามารถพึ่งพาบุตร ๒ ใน ๓ คู่ครองของตนและราวครึ่งหนึ่งสามารถพึ่งพามิตรสหาย ๒ ใน ๓ ใช้ชีวิตร่วมกับคู่ ๖๙% มีแวดวงมิตรสหายที่สนิทสนม
ผู้สูงวัยที่เป็นโสดส่วนใหญ่พอใจกับอิสรภาพและไม่ปรารถนาคู่ครองใหม่ โดยในจำนวนนี้เป็นสตรีมากกว่าบุรุษ
-การเดินทางเคลื่อนย้าย
มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ถูกสอบถามขับรถยนต์ ในผู้มีวัย ๖๕-๖๙ ปีมีจำนวนมากกว่าในปี ๑๙๘๕
สองเท่า ในผู้มีวัย ๘๐-๘๕
ปีอัตรานี้ถึงกับเพิ่มขึ้นมากกว่า ๑๐ เท่า
โดย ๓๘% ของผู้สูงวัยใช้รถยนต์ของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น