วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ระวังจมน้ำ


        ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเตือนว่าผู้ที่ประสงค์จะปกป้องบุตรจากการจมน้ำ ไม่ได้รับอนุญาตให้ละสายตาจากเด็ก ๆ  ของเล่นในน้ำ ได้แก่ แพยางหรือทุ่นยางให้การคุ้มครองน้อยมาก ๆ และไม่สามารถทดแทนการกำกับดูแลจากผู้ใหญ่ที่เอาใจใส่ได้  Werner Leistner ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยชี้แจงว่าจรเข้ยักษ์เป่าลมหรือทุ่นยางสีสด ๆ นำความสนุกสนานมากมายมาให้เด็ก ๆ อย่างไม่ต้องสงสัย แต่นอกเหนือจากนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ลืมว่าสำหรับผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็นจำเป็นต้องมีเครื่องช่วยว่ายน้ำอย่างแท้จริงเพิ่มเติม  เขากล่าวว่าเด็ก ๆ สามารถจมลงใต้น้ำได้ทุกเวลา  เครื่องช่วยว่ายน้ำก็ได้แก่ ปีกชูชีพ เข็มขัดว่ายน้ำหรือเสื้อชูชีพที่สวมไว้บนร่างกายและมีผลในการพยุงตัว  ในการซื้อให้ดูข้อบ่งชี้ถึงมาตรฐาน DIN EN 13138-1 “อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล” นี้สามารถแยกได้อย่างชัดเจนจากสิ่งของเพื่อสันทนาการที่ว่ายน้ำได้ เช่น ทุ่นและของเล่นในน้ำทุกชนิดด้วย  กฎเกณฑ์มีว่าให้อยู่ในที่น้ำตื้นเท่านั้นและภายใต้การกำกับดูแลของผู้ใหญ่  การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ไม่ใช่เสียชีวิตตามธรรมชาติบ่อยที่สุดเป็นอันดับสองในเด็กวัยต่ำกว่า ๕ ปี  ที่ไม่ค่อยคิดกัน คือ ไม่เพียงแค่น้ำลึกเท่านั้นที่เป็นเขตเสี่ยงสำหรับเด็กเล็ก  แม้แต่ในอ่างยาง บ่อน้ำในสวนหรือในอ่างอาบน้ำ เด็กก็สามารถจมน้ำได้  เหตุผล คือ เด็กเล็กคว่ำไปข้างหน้าได้ง่าย มีการจับทิศทางแย่ใต้น้ำและสามารถยืดตัวขึ้นมาอีกได้ยาก  หากศีรษะลงไปอยู่ใต้น้ำและไม่มีใครมาช่วย จะเสียชีวิตภายในไม่กี่นาที  ดังนั้น ผู้ปกครองจึงต้องไม่ปล่อยให้บุตรเล่นใกล้แหล่งน้ำโดยไม่มีคนดูแลอยู่ด้วย แม้ว่าจะเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม  นอกจากนั้น ยังเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะทำให้แหล่งน้ำในสวนของตนเองปลอดภัย ตัวอย่างเช่น ล้อมรั้วรอบสระหรือปิดถังน้ำฝน  ในการว่ายน้ำในมหาสมุทรให้ระมัดระวังว่าเวลาคลื่นมาเด็กสามารถกลืนน้ำเข้าไปได้และง่ายที่จะล้มด้วย  Leistner ย้ำว่าสำหรับผู้ที่ว่ายน้ำไม่เป็น น้ำได้รับอนุญาตให้ลึกเพียงเท่าที่เด็กยังสามารถยืนได้  แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ดูแลเสมอ  เขาแนะนำว่าให้ส่งเด็ก ๆ ไปเข้าคอร์สว่ายน้ำแต่เนิ่นๆ เครื่องว่ายน้ำนอกจากต้องมีมาตรฐานตามที่กล่าวแล้ว ยังต้องมีข้อมูลการใช้ที่เข้าใจได้ด้วย  ความปลอดภัยเพิ่มเติมมีในผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย GS  ซึ่งหมายถึงผ่านการตรวจสอบจากสถาบันทดสอบอิสระ เครื่องช่วยว่ายน้ำต้องมีช่องเก็บลมที่แยกเป็นหลายส่วนเสมอกัน  ซึ่งเด็กจะไม่สามารถพลิกตะแคงได้ง่ายหากช่องเก็บลมรั่ว  จุกต้องแข็งแรงและไม่หลุดง่าย  ต้องกดเข้าไปได้จนสุดเพื่อหลีกเลี่ยงการเปิดออกโดยบังเอิญ  เครื่องช่วยว่ายน้ำต้องแนบชิดกับลำตัว เพื่อไม่ให้สามารถลื่นหลุดในน้ำ ปีกชูชีพควรเป่าลมตอนสวมแขนแล้ว  ควรระวังกลิ่นแปลก ๆ ซึ่งสามารถเป็นตัวบ่งชี้ถึงสารพิษได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น