ตามการมองด้านวิชาการ กรณี Mesut Özil เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับอุปสรรคด้านการปรับตัวและความขัดแย้งเกี่ยวกับบ้านเกิดเมืองนอนของ
“ชาวเยอรมัน-ตุรกี” ศาสตราจารย์
Haci-Halil Uslucan
ได้ชี้แจงในการเสนอการศึกษาชิ้นใหม่ของศูนย์เพื่อการศึกษาตุรกีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคมที่ผ่านมาที่ดุสเซลดอร์ฟ ว่าตามลักษณะแล้วเป็นสิ่งที่เรียกว่าสัจธรรมที่ขัดแย้งกันในตัว โดยผู้ที่ดูภายนอกว่าปรับตัวได้ดีกว่าคนอื่น เช่น
โอซิล นักฟุตบอลชั้นนำที่ถือกำเนิดเป็นชาว Gelsenkirchen บ่อย
ๆ รู้สึกว่าไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
เนื่องจากมีความอ่อนไหวเป็นพิเศษต่อการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันในสังคม Uslucan
นักวิจัยการอพยพลี้ภัยและนักจิตวิทยาจาก Essen
บรรยายความรู้สึกลึก ๆ ของการถูกผลักออกจากสังคมว่าคนเหล่านี้มีความเห็นว่าตนเองได้ทำงานด้านการปรับตัวอย่างแข็งขัน กระนั้น ก็ยังถูกกล่าวหาว่าไม่ใช่เป็นคนที่นี่
เป็นเพียงคนที่ถือหนังสือเดินทางเยอรมัน
โอซิลได้กล่าวในคำแถลงการลาออกจากทีมชาติเยอรมันเมื่อวันที่ ๒๒
กรกฎาคมที่ผ่านมา ว่าเขารู้สึกว่าไม่เป็นที่ต้องการและคิดว่าสิ่งที่เขาบรรลุนับแต่การลงเล่นให้ทีมชาติครั้งแรกในปี
๒๐๐๙ ถูกหลงลืมไปแล้ว Uslucan รายงานว่านับแต่ปี ๒๐๑๐
จำนวนผู้อพยพเชื้อสายตุรกีที่มีความรู้สึกผูกพันกับประเทศตุรกีมากกว่าประเทศเยอรมันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นความผิดของการถกเถียงที่กีดกันอย่างหนักมาก
ในจำนวนนี้เกิดจากหนังสือที่ได้รับการถกเถียงกันชื่อ “Deutschland schafft
sich ab” ของ Thilo Sarrazin ในการสอบถามล่าสุด ๖๑% รับว่ารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศตุรกีรุนแรงมาก เพียง ๓๘% กล่าวเช่นนั้นต่อประเทศเยอรมัน
(ในแคว้นนอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลน ๓๕%) ที่ถดถอยลงนับแต่ปี ๒๐๑๐ ก็ได้แก่
จำนวนผู้ที่ระบุถึงทั้งสองประเทศ ในปี
๒๐๑๗ ผู้ถูกสอบถามระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของทั้งสองประเทศราว ๔๘% ในปี ๒๐๑๐ ยังมีจำนวนราว ๖๕%
ในชนรุ่นลูกความรู้สึกผูกพันกับตุรกีก็ยังสูง Uslucan เห็นว่าส่วนหนึ่งมาจากการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนเกี่ยวกับตุรกีในประเทศเยอรมัน เช่น การโฆษณาของรัฐบาลตุรกี
รวมทั้งประสบการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อไม่เท่าเทียมกัน ฯลฯ
เขาแนะนำว่าอัตลักษณ์แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
นี้ไม่ควรได้รับการประนามหรือทำให้เป็นเรื่องเป็นราว การที่ยังคงมีหัวใจสองดวงอยู่ในหัวอกของชาวเยอรมัน-ตุรกีจำนวนมาก
ไม่ได้เป็นสัญญาณถึงการไม่ปรับตัว
หากแต่เป็นเรื่องเข้าใจได้ของมนุษย์และได้รับอิทธิพลทางการเมืองเพียงเล็กน้อย
เขาเตือนว่าการวิเคราะห์ตามคำขวัญที่ว่าทำอะไรผิดไปตรงไหน ขณะนี้ไม่ควรจะทำให้เกินเลย ในการศึกษาระบุว่าบางครั้งความรู้สึกเรื่องบ้านเกิดเมืองนอนก็เป็นเพียงความเพ้อฝันหรือสถานที่แห่งความใฝ่ฝันหา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น