การวัดความสุขในประเทศเยอรมันทำให้นักวิชาการเอะใจ
เป็นครั้งแรกในเวลาหลายปีที่พลเมืองเยอรมันมองโลกเป็นบวกมากขึ้นเล็กน้อย ตาม “Glücksatlas” (แผนที่วัดดัชนีความสุข)
ใหม่ ความพึงพอใจในชีวิตโดยรวมเพิ่มจาก ๗.๐๒ เป็น ๗.๑๑ ภายใน ๑ ปีจากระดับ ๐ ถึง
๑๐ การศึกษาสังคมภายใต้การมอบหมายของการไปรษณีย์แห่งประเทศเยอรมันได้รับการเสนอเมื่อวันที่
๑๘ ตุลาคมที่ผ่านมาที่เบอร์ลิน
สิ่งที่ดูว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่โตมีความหมายสำหรับนักวิจัยความสุข เนื่องจากมันหมายถึงการเพิ่มขึ้นข้างบน โดยชาวเยอรมันที่ปกติสำนึกในความมั่นคงปลอดภัยไม่เห็นว่าการข่มขู่ใหม่
ๆ เช่น อันตรายของการก่อการร้ายหรือพัฒนาการทางสังคม เช่น การหลั่งไหลของผู้อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศ
เป็นตัวสะกัดกั้นความพึงพอใจในชีวิตส่วนตัว
ความรู้สึกว่ามีความสุขค่อนข้างมีอยู่ในภาคตะวันตก ในภาคตะวันออกยังแตกต่างไปเช่นเคยเป็นอยู่ Bernd Raffelhüschen นักวิชาการด้านการเงิน
จากมหาวิทยาลัย Albert-Ludwig ที่ Freiburg ผู้ร่วมทำการศึกษาเน้นว่าประเทศเยอรมันไม่ใช่หุบเหวแห่งความเศร้าโศก เขาพบว่าความรู้สึกว่าพึงพอใจในแคว้นต่าง ๆ
ของประเทศอยู่ใกล้กันมากกว่าสมัยก่อน
ถึงแม้ว่าความแตกต่างตะวันออก-ตะวันตกยังชัดเจน เขาสรุปว่าประเทศเยอรมันมีลักษณะเหมือนกันมากกว่าสมัยก่อน
ความสุขที่วัดได้ไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกของแต่ละวัน และไม่เกี่ยวกับเหตุบังเอิญ เช่น
การถูกล็อตโตด้วย
แต่เป็นการวิเคราะห์ระยะยาวของชีวิต ความต้องการ เป้าหมาย ความคาดหวัง และทัศนคติ สำหรับหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดในยุโรป
ค่าความพึงพอใจ ๗ ไม่ใช่ค่าที่น่าใส่ใจ
ประเทศเยอรมันอยู่เพียงในอันดับที่ ๙ ประเทศเพื่อนบ้านเดนมาร์กอยู่ในอันดับแรก
ในภาคตะวันออกของประเทศเยอรมันไม่มีแคว้นใดบรรลุค่าความสุขถึงระดับ
๗ Raffelhüschen สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวพันกับปัญหาผู้ลี้ภัย เนื่องจากช่องว่างตะวันออก-ตะวันตกเกิดขึ้นในคำถามเกี่ยวกับ
“ความหลากหลายทางวัฒนธรรม”
โดยเพียงครึ่งหนึ่งของชาวเยอรมันตะวันออกมองการอพยพว่าเป็นความรุ่มรวยขึ้น ในภาคตะวันตกราว ๒ ใน ๓ สำหรับเขา
ความแตกต่างนี้อยู่ที่การขาดประสบการณ์ของเยอรมันตะวันออก ที่ไม่คุ้นเคยกับผู้อพยพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น