วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คนไม่รู้หนังสือในเยอรมัน

        ประชาชน ๗.๕ ล้านคนในประเทศเยอรมันไม่สามารถเขียนและอ่านได้อย่างแท้จริง  ในฐานะ “funktionale Analphabeten”  สามารถจัดการกับตัวอักษร คำศัพท์และประโยคง่าย ๆ เพียงจำกัดจำเขี่ย  มีปัญหาในการอ่านข้อความที่เชื่อมโยงกันและทำความเข้าใจ  ตามการศึกษา “leo.Level-One-Studie” ของมหาวิทยาลัยฮัมบวร์กในปี ๒๐๑๑  ประชาชน ๒.๓ ล้านคนสามารถอ่านและเขียนได้เพียงเป็นคำ ๆ แต่ไม่ใช่ทั้งประโยค  พลเมือง ๓๐๐,๐๐๐ คนไม่สามารถเขียนชื่อตนเองได้ถูกต้อง  นักวิชาการพบว่าทั่วประเทศเยอรมันมีประชาชนที่มีปัญหาการอ่านและเขียนอย่างหนักมากกว่าที่เคยเชื่อกันก่อนหน้านี้ ถึง ๒ เท่า  แม้ว่าส่วนใหญ่ได้เข้าโรงเรียน  แต่ผู้ใหญ่ทุก ๑ ใน ๗ คนจนถึงอายุ ๖๔ ปีสามารถมีส่วนร่วมทางสังคมเพียงจำกัด เนื่องจากความสามารถในการอ่านและเขียนอย่างมีขอบเขตจำกัดมาก  ในจำนวนนี้ ๖๐% เป็นบุคคลทำงานประกอบอาชีพ  Tim-Thilo Fellmer นักเขียนหนังสือเด็กที่เคยเป็นผู้ประสบปัญหามาก่อนเชื่อว่าจำนวน ๗.๒ ล้านคนน่าจะเข้าใกล้ความเป็นจริงและถึงกับอาจสูงกว่านี้เนื่องจากเป็นตัวเลขมืด 
ตามการประเมินของเขา มีเหตุผลมากมายว่าทำไมบางคนจึงไม่เรียนรู้ที่จะอ่านและเขียนแม้ว่าจะอยู่ในระบบโรงเรียน  ส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการอ่านเขียนอย่างแท้จริง (Legasthenie)  หากแต่ขึ้นกับสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น สภาพที่บ้านที่ผู้ปกครองไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน  ปัญหากับระบบโรงเรียน ครู ฯลฯ  วันที่ ๘ กันยายนของทุกปีซึ่งเป็น “วันรู้หนังสือโลก” องค์การยูเนสโกได้เตือนให้ระลึกถึงปัญหาหนักของโลก นั่นคือ การเรียนอ่านและเขียนในหลายภูมิภาคของโลกยังเป็นเรื่องของคนกลุ่มน้อยที่มี “สิทธิพิเศษ” อยู่ 

รายงานการศึกษาโลกของยูเนสโกเมื่อปี ๒๐๑๕ แสดงว่าประชาชนราว ๗๘๑ ล้านคนทั่วโลกไม่รู้หนังสือ  เกือบ ๒ ใน ๓ ในจำนวนนี้เป็นสตรี  สัดส่วนสูงที่สุดของผู้ไม่รู้หนังสือ (๕๕๗ ล้านคน) กระจายอยู่ใน ๑๐ ประเทศ  ๓๗% ของผู้ไม่รู้หนังสือทั่วโลกอยู่ที่ประเทศอินเดียประเทศเดียว  ซึ่งมีจำนวนประชากร ๒๘๗ ล้านคนไม่สามารถอ่านและเขียนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น