ตัวเลขฟังดูน่ากลัว กระทรวงเกษตรระบุว่าในประเทศเยอรมันอุตสาหกรรม
การค้า ผู้บริโภครายใหญ่และครัวเรือนเอกชนทิ้งอาหาร ๑๑ ล้านตันลงถังขยะทุกปี อาหารทุก ๑ ใน ๘
อย่างที่ซื้อในประเทศเยอรมันลงไปอยู่ในถังขยะ
ตามตัวเลขของปี ๒๐๑๒ เฉลี่ย ๘๒ กิโลกรัมต่อหัวต่อปี นมเปรี้ยว แอปเปิลเน่า อาหารเหลือจากมื้อเย็น
ฯลฯ นอกจากนั้น ยังมีอาหารเน่าเสียอีกเป็นตัน ๆ ที่ซุปเปอร์มาร์เกตและภัตตาคารทิ้ง ตามการศึกษาของรัฐบาลเยอรมัน
มีความสำนึกในปัญหา ๙๒%
ของผู้ถูกสอบถามเชื่อว่าอาหารถูกทิ้งในขยะทั้งที่ยังกินได้
โดยผู้มีอายุน้อยทิ้งของกินบ่อยกว่าชนรุ่นวัยสูงกว่า
ตามที่แสดงในการวิเคราะห์ของสถาบันเศรษฐกิจเยอรมัน (DIW)
ที่โคโลญน์ ๙๒% ของชาวเยอรมันในวัย
๒๑-๕๑ ปีโยนอาหารทิ้ง ๔-๑๐
คนถึงกับทำเช่นนี้สัปดาห์ละครั้ง
ตรงกันข้าม ๑ ใน ๓ ของมนุษย์ที่เกิดก่อนปี ๑๙๔๕ ไม่เคยทิ้งอาหารลงขยะ เป็นที่แน่ชัดว่าผู้ที่เติบโตในสภาวะขาดแคลนมีความสัมพันธ์กับอาหารต่างกับชนรุ่นที่เห็นการมีเหลือเฟือเป็นเรื่องปกติ ทั่วโลก ๑ ใน ๓ ของอาหารไม่ได้เสิร์ฟอยู่ในจาน ทั้งนี้ ตามข้อมูลของสหประชาชาติ ประชาชน ๗๙๕
ล้านคนไม่มีอาหารกินเพียงพอ
การที่อาหารไม่ได้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่เพียงปัญหาด้านจริยธรรมเท่านั้น แรงงาน ผืนดิน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติที่มีน้อย
โดยมากก็ถูกทำให้ทิ้งเปลืองเปล่า
สมัชชาอาหารและเกษตรกรรมแห่งองค์การสหประชาชาติระบุค่าใช้จ่ายสำหรับเศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อม และสังคมทั่วโลก ๒.๖ หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี จนกว่าจะถึงปี ๒๐๓๐ ประเทศเยอรมันประสงค์จะลดการสิ้นเปลืองของอาหารต่อหัวลงครึ่งหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น