ผู้ลี้ภัยประกอบอาชญากรรมที่ใช้ความรุนแรงบ่อยแค่ไหน
? ตามสถิติอาชญากรรมของตำรวจประจำปี ๒๐๑๗ มีข้อมูลดังต่อไปนี้
- สำหรับผู้ลี้ภัยสถิติใช้คำว่า “ผู้อพยพ” ซึ่งหมายถึงผู้ร้องขอลี้ภัย ผู้ลี้ภัยที่ได้รับการยอมรับ ผู้ลี้ภัยตามจำนวนที่กำหนด ผู้ที่ทนยอมให้อยู่และประชาชนที่อยู่แบบผิดกฎหมายในประเทศเยอรมัน
- โดยรวม ๘.๕% ของการกระทำผิดทั้งหมดตำรวจสงสัยผู้ลี้ภัย ที่น่าสังเกตคือต้องสงสัยว่าก่อเหตุต่อชีวิต (ฆาตกรรม ฆ่าคนโดยไม่เจตนา) การทำร้ายร่างกายอย่างหนักและการข่มขืนเกิดขึ้นบ่อย โดยมีจำนวนราว ๑๕% ของผู้ต้องสงสัยทั้งหมด จำนวนนี้สูงมากกว่าสัดส่วนของผู้ลี้ภัยในจำนวนประชากรมาก
- ความเป็นจริงนี้สามารถอธิบายได้ด้วยโครงสร้างด้านอายุ ผู้ขอลี้ภัยมีอายุเฉลี่ย ๒๙.๔ ปี หรือน้อยกว่าอายุเฉลี่ยของประชากรเกือบ ๑๕ ปี โดยทั่วไปประชาชนในกลุ่มอายุนี้กระทำผิดกฎหมายส่วนใหญ่
- เยาวชนและผู้ใหญ่อายุน้อยวัยระหว่าง ๑๕-๔๐ ปีในประเทศเยอรมัน (ไม่ขึ้นกับถิ่นที่มา) ทำผิดราว ๗๕% ของการกระทำผิดที่ใช้ความรุนแรง แต่มีจำนวนเพียง ๓๐% ของประชากร
- ซีเรีย อิรักและอัฟกานิสถานเป็นผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ แต่ตามสถิติไม่ค่อยกระทำผิดกฎหมาย ที่เป็นผู้ลงมือกระทำผิดมาก ได้แก่ ผู้ขอลี้ภัยจากกลุ่มประเทศ Maghreb (ประเทศในอัฟริกาเหนือและประเทศอาหรับ) และจอร์เจียน
- เมื่อใดที่ผู้ลี้ภัยได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ลี้ภัย อัตราการประกอบอาชญากรรมภายใต้ผู้ลี้ภัยจะลดลงอย่างชัดเจน ผู้ที่มีสิทธิขอลี้ภัยและผู้มีสิทธิได้รับความคุ้มครองมีจำนวนเพียง ๐.๕% ของผู้ต้องสงสัยทั้งหมด และทำให้เป็นผู้ที่ซื่อตรงต่อกฎหมายมากกว่าชาวเยอรมัน
ในปี ๒๐๑๕
มีคำร้องขอลี้ภัยในประเทศเยอรมันได้รับการปฏิเสธ ๙๑,๕๑๔ กรณี มีผู้เดินทางออกจากประเทศ ๕๙,๕๖๙ กรณี ในปี
๒๐๑๖ ได้รับการปฏิเสธ ๑๗๓,๘๔๖ กรณี เดินทางออกนอกประเทศ ๘๐,๗๒๓ กรณี ปี ๒๐๑๗ คำร้องถูกปฏิเสธ ๒๓๒,๓๐๗ กรณี
เดินทางออกไป ๕๕,๒๖๐ กรณี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น