สมัยแม่ผู้เขียนเข้าสู่วัยกลางคน
ท่านมีอาการปวดหัวเป็นประจำ เท่าที่จำได้ดูเหมือนเป็นการปวดแบบแปลบ ๆ
ทีแรกทุกคนคิดว่าเป็นอาการปวดหัวธรรมดา เดี๋ยวก็คงหาย
แต่การณ์กลับเป็นว่าอาการปวดไม่ยอมหายไป เมื่อทนไม่ไหวแม่ก็เลยไปพบแพทย์ ทำให้รู้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ตั้งแต่นั้นก็ต้องกินยาและไปพบหมอตามนัดเพื่อตรวจวัดความดันเป็นประจำ
วันนัดต้องตื่นแต่เช้าเพื่อไปเข้าคิวรับบัตรตรวจ
เพื่อนรุ่นพี่ผู้หนึ่งก็เล่าให้ฟังว่าเพิ่งตรวจพบว่าเป็นโรคความดันสูงเหมือนกัน ทีแรกพี่เขาไม่เชื่อหมอ คิดว่าที่ความดันสูงผิดปกติน่าจะเป็นเพราะความตื่นเต้นกลัวหมอ
ฟังเรื่องนี้แล้วทำให้นึกถึงเรื่องการวัดความดันโลหิตที่เพิ่งอ่านพบเมื่อไม่นานมานี้
ในข่าวที่ว่าระบุว่าหากคนไข้เป็นผู้ควบคุมสุขภาพตนเอง
บางครั้งดีกว่าการไปพบแพทย์เป็นประจำ โดยเฉพาะการวัดความดันโลหิต การทำด้วยตนเองสำคัญกว่าการไปพบแพทย์อย่างชัดเจน เนื่องจากการพบได้บ่อยว่า
ในคลินิกได้ผลการวัดสูงเกินไป
ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียกกันว่า “Weißkittel-Hypertonie” ได้แก่ ความกลัวหมอและผลการตรวจที่ผลักดันให้ความดันโลหิตของบางคนสูงโดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว การวัดด้วยตนเองสำคัญมาก
ขณะเดียวกันคนไข้จำนวนไม่น้อยก็ทำผิดพลาดค่อนข้างมากในการวัดที่บ้านของตนเอง
ทำให้ได้ผลการตรวจผิดพลาด
แม้ว่าการวัดความดันโลหิตด้วยตนเองทุกวันนี้ จะถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่ง่ายที่สุด ดังนั้น จึงควรตรวจสอบว่าผลตรงกับค่าเฉลี่ยหรือไม่
มีข้อแนะนำสิ่งที่ควรให้ความสนใจ คือ
๑.
เครื่องวัดที่ถูกต้อง
ผู้ที่ซื้อเครื่องมือใช้วัดด้วยตนเองไม่ควรประหยัด
เครื่องวัดความดันโลหิตเกือบทั้งหมดได้มาตรฐาน กระนั้น
ก็เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าที่มีความแตกต่างของการวัดอย่างชัดเจน ตามการเปิดเผยของสโมสรความดันโลหิตเยอรมัน
ก่อนการซื้อเครื่องใหม่ลูกค้าแต่ละคนสามารถทำการตรวจสอบความเที่ยงตรงของการวัดได้จากแพทย์ประจำบ้านหรือที่ร้านขายยา โดยเปรียบเทียบการวัดกับ Stethoskop
ซึ่งใช้กันเป็นปกติสมัยก่อนและทุกวันนี้ยังใช้ในโรงพยาบาล ส่วนใหญ่แพทย์แนะนำการวัดที่ต้นแขน แม้ว่าการวัดที่ข้อมือจะสะดวกสบายกว่า แต่ผลการวัดมักไม่เที่ยงตรง
๒.
วัดทุกวัน
มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันว่าควรวัดความดันโลหิตบ่อยเท่าใด ประชาชนที่มีค่าการวัดอยู่ที่ ๑๒๐/๘๐
เป็นประจำสามารถผ่อนคลายได้
โดยต้องตรวจดูความดันโลหิตเพียงเป็นครั้งคราว คนไข้อื่น ๆ
ที่เป็นโรคกลัวหมอไม่มากก็น้อยควรทำเป็นกิจวัตรทุกวัน และวัดความดันโลหิตวันละหลาย
ๆ ครั้ง
ผู้ที่ทำให้เป็นความเคยชินเร็วจะตระหนักถึงค่าที่เบี่ยงเบนไปเร็วและสามารถแก้ไขได้
๓.
วัดครั้งที่สองจะต่ำลง อย่างไรก็ดี
ผลกระทบความกลัวหมอก็สามารถเกิดขึ้นในการวัดด้วยตนเองด้วย
เนื่องจากความวิตกว่ามีค่าความดันสูงเกินไป
ผู้ที่มีปัญหานี้ควรวัด ๒ ครั้งติดต่อกันเป็นประจำ บ่อยมากที่ค่าการวัดครั้งที่ ๒
จะต่ำกว่าครั้งแรก นอกจากนั้น ควรวัดเป็นเวลา
เช่น ก่อนหรือหลังการกินยาลดความดัน
ซึ่งควรพูดคุยกับแพทย์เพื่อไม่ให้การวัดความดันกลายเป็นการทดสอบความเครียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น