ผู้ยื่นขอลี้ภัยในประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและพัฒนาการ
(OECD) ๓๕
ประเทศในปี ๒๐๑๕ บรรลุระดับสูงสุดนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองด้วยจำนวน ๑.๖๕
ล้านคน คำร้องทุก ๑ ใน ๔
กรณีได้รับการยื่นขอในประเทศเยอรมัน
ตามการระบุของรายงานการอพยพของ OECD ที่ได้รับการเสนอเมื่อวันที่
๑๙ กันยายนที่ผ่านมา
เมื่อวัดจากประชากรมีเพียงประเทศสวีเดนและออสเตรียที่รับผู้ขอลี้ภัยมากกว่าประเทศเยอรมัน ในครึ่งแรกของปี ๒๐๑๖ แนวโน้มดำเนินต่อไป คำร้องขอลี้ภัย ๗๕๐,๐๐๐
กรณีได้รับการยื่นในประเทศ OECD ทั้งหมด
มากกว่าครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ยื่นในประเทศเยอรมัน แต่ผู้ขอลี้ภัยเป็นเพียง ๑ ใน ๓
ของการอพยพในเขต OECD จำนวนผู้เดินทางเข้ามาในประเทศสมาชิกในปี ๒๐๑๕
เพิ่มขึ้น ๑๐%
เป็น
๔.๘ ล้านคน
ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในรอบ ๑๐ ปีที่ผ่านมา โดยประเทศเยอรมันอยู่ในอันดับ ๒
ตามหลังสหรัฐอเมริกา
OECD ประกอบด้วยประเทศอุตสาหกรรมที่พัฒนาแล้วจากนิวซีแลนด์
เยอรมันไปจนถึงเม็กซิโก องค์การ ฯ
ได้เรียกร้องรัฐบาลของประเทศสมาชิกให้ต่อสู้กับความอคติต่อผู้อพยพ
Angel Gurria เลขาธิการทั่วไปของ OECD กล่าวที่นิวยอร์คว่าประชาชนจำนวนมากในหลายประเทศเกินไปสูญเสียความไว้วางใจในลักษณะและวิธีการที่จัดการกับการอพยพและวิกฤตผู้ลี้ภัยทำให้ยิ่งแย่ลงอีก การวิเคราะห์ของ OECD แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการอพยพในระยะกลางและระยะยาวส่งผลทางบวกสำหรับการคลัง
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และตลาดแรงงาน
เขาเรียกร้องว่ารัฐบาลต้องชี้แจงข้อได้เปรียบของการอพยพให้ดีขึ้นกว่าเดิม
นอกจากนั้นมาตรการการปรับตัวต้องดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ผู้อพยพสามารถมีส่วนมากขึ้นในพัฒนาการทางบวกของประเทศจุดหมายปลายทาง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น