วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

สิทธิในการคืนสินค้า


       บริษัท Ikea ผู้ค้าเฟอร์นิเจอร์จากสวีเดนยกเลิกส่วนใหญ่ของสิทธิการคืนสินค้าอย่างขนานใหญ่  ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายนศกนี้เป็นต้นไปลูกค้าสามารถคืนสินค้าที่ซื้อไปแล้วได้เพียงภายใน ๑ ปี  หากแต่ไม่นับรวมสินค้าใหม่เอี่ยมแกะกล่องและไม่ได้ใช้  ซึ่งตามข้อมูลของอิเคียนำไปสู่การใช้สิทธิในทางมิชอบ  ไม่นานก่อนหน้าการสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาลูกค้าบางคนนำสิ่งของที่ใช้แล้วจำนวนมากมาคืน พอได้รับเงินก็เอาไปซื้อของใหม่  โดยเจ้าของผู้ให้เช่าบ้านพักตากอากาศถูกต้องสงสัยว่าค้นพบช่องทางนี้เป็นช่องทางประหยัด  บริษัทการค้าระบุก้าวย่างนี้นอกเหนือจากการใช้สิทธิในทางมิชอบด้านธุรกิจว่าเนื่องจากเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม  เนื่องจากท้ายสุดด้วยหนทางนี้ สินค้าที่แทบไม่ได้ใช้ถูกทิ้งเป็นขยะ  
Dennis Balslev บอร์ดใหญ่บริษัทอิเคียในประเทศเยอรมันได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่ง ว่าอิเคียประสงค์จะให้มั่นใจว่าลูกค้าไม่ได้ขจัดเฟอร์นิเจอร์และของประดับตกแต่งบ้านหลังการใช้งานไม่นานด้วยการจำกัดสิทธิการคืน  เพื่อให้ตระหนักในคุณค่าของผลิตภัณฑ์ในแง่ของทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการผลิต  แม้ขณะนี้คำมั่นสัญญาเรื่องการคืนจะถูกจำกัดลง แต่กระนั้นอิเคียก็ยังคงทำมากกว่าหน้าที่ตามกฎหมายมาก 
ศูนย์ผู้บริโภคฮัมบวร์กบรรยายสภาพการณ์ว่าโดยพื้นฐานสิทธิในการเลิกหรือเพิกถอนสำหรับลูกค้าในการซื้อในร้านค้าไม่มี  โดยพื้นฐานที่สร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้บริโภคจำนวนมากคือกฎเกณฑ์ “สัญญาก็คือสัญญา” และ “ซื้อก็คือซื้อ”  แต่อินเตอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงกฎในการค้าอย่างสิ้นเชิง  เนื่องจากในธุรกิจออนไลน์ทุกคนสามารถยกเลิกการซื้อได้ภายใน ๑๔ วันโดยไม่ต้องระบุเหตุผล  Marco Atzberger ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าจากสถาบันวิจัย EHI กล่าวว่าลูกค้าคาดหวังความเป็นไปได้ในการคืนที่เรียนรู้มาจากออนไลน์มากขึ้นทุกทีในการซื้อขายในร้านค้าด้วย  ซึ่งร้านค้าต้องเตรียมรับมือกับสินค้าที่ถูกคืนปริมาณมากขึ้นทุกที  ร้านค้าที่ไม่ร่วมด้วยจะถูกลูกค้าลงโทษ 
Eva Stüber จากสถาบันเพื่อการวิจัยธุรกิจที่โคโลญน์เชื่อว่าผู้ที่ประพฤติตัวไม่ใจดีใจกว้างในสายตาของลูกค้า ในระยะยาวจะสูญเสียลูกค้า  แต่นั่นก็มีขอบเขตด้วย  คนเราไม่สามารถรับทุกสิ่งทุกอย่างคืนง่าย ๆ ขณะเดียวกันก็แสดงตัวเป็นธุรกิจที่ต่อสู้เพื่อความยั่งยืน  การคืนจำนวนมาก เช่น ๕๐% ในธุรกิจเสื้อผ้าแพรพรรณไม่ใช่เรื่องผิดปกติ  ผู้ค้าออนไลน์ต้องยอมให้มีการคืนและในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามขายให้ได้ ตัวอย่างเช่น Zalando นำไปขายลดราคาในร้าน Outlet ของตนเอง  แต่ Atzberger กล่าวว่าความเป็นไปได้นี้ร้านขนาดเล็กกว่าส่วนใหญ่ไม่มี  ผลลัพธ์ก็คือไม่ถูกหลักเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อม  เนื่องจากผู้ค้ารายเล็ก ๆ มีความยุ่งยากมากในการจัดการกับสินค้ารับคืน หากไม่สามารถเอากลับไปขายได้อีก ส่วนใหญ่ก็ต้องทิ้งของไป  อิเคียโฆษณาคำสัญญาในการรับคืนอย่างเปิดเผย  เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น  ด้วยความหวังว่าตามจริงจะมีการนำสินค้ามาคืนเพียงเสี้ยวเดียว  เหตุผลไม่จำเป็นต้องระบุ  ส่วนใหญ่แล้วก็แค่ไปถึงบ้าน แล้วไม่ชอบของชิ้นนั้นมากเท่ากับตอนที่อยู่ในร้าน  ที่สมเหตุสมผลคือการลองใช้นาน ๆ กับฟูกนอน  ซึ่งโฆษกของอิเคียให้คำมั่นว่าเป็นผลิตภัณฑ์เพียงชิ้นเดียวที่แลกคืนได้ภายในกำหนดเวลา ๑ ปีในสภาพที่ใช้งานแล้ว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น