วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

เยอรมันเขตตะวันออกเลิกหดตัว

เป็นครั้งแรกนับแต่การรวมประเทศที่มีประชาชนเข้าไปยังเยอรมันตะวันออกมากกว่าย้ายออกไป กระนั้น หลายหมู่บ้านตำบลจำนวนมากก็ยังรวมอยู่ในกลุ่มติดลบมากกว่าสองทศวรรษที่ประชากรในเยอรมันตะวันออกหดตัวลง ขณะนี้แนวโน้มนี้ยุติลง
ตามการศึกษาของสถาบันประชากรและการพัฒนาที่เบอร์ลิน Reiner Klingholz ผู้อำนวยการสถาบัน ฯ กล่าวเมื่อวันที่ ๒๖ มกราคมที่ผ่านมาที่เบอร์ลินว่านับแต่ปี ๒๐๑๒ แคว้นทั้ง ๕ แคว้นในภาคตะวันออกดึงดูดประชาชนจากภาคตะวันตกหรือจากต่างประเทศเข้ามามากกว่าที่สูญเสียไป อย่างไรก็ดี เพียงส่วนน้อยของตำบลได้รับประโยชน์จากจุดเปลี่ยนนี้ โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆ ตรงกันข้ามภูมิภาคในชนบทหดตัวลงต่อไป
หลังการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินภาคตะวันออกเผชิญกับการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างหนัก นับแต่ปี ๑๙๘๙ ประชาชนราว ๖.๘ ล้านคนละทิ้งภูมิภาค กับ ส่วนใหญ่ไปยังทิศตะวันตก เนื่องจากการศึกษาและอาชีพ ภูมิภาคเดี่ยว ๆ บางแห่งที่มีโครงสร้างอ่อนด้อยถึงกับสูญเสียผู้อยู่อาศัยถึง ๔๐% ในขณะที่ประชาชนที่ยังอยู่เป็นคนสูงอายุขึ้น
ปัจจุบันภาคตะวันออกกลายเป็นพื้นที่อพยพอีกครั้งหนึ่ง ในปี ๒๐๑๓ พลเมือง ๑๓๙,๔๐๐ คนจากภาคตะวันออก (รวมเบอร์ลิน) ได้ย้ายไปยังภาคตะวันตกของประเทศเยอรมัน ขณะเดียวกันพลเมือง ๑๔๐,๖๐๐ คนจากภาคตะวันตกย้ายมายังภาคตะวันออก (รวมเบอร์ลิน) ทำให้มียอดที่เป็นบวก ๑,๒๐๐ คน แต่แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทำให้มีหมู่บ้านขยายเพียงน้อยนิดเท่านั้น
ตามการศึกษา “Im Osten auf Wanderschaft“ แสดงว่าเพียง ๑๕% ของตำบลในเยอรมันตะวันออก ๒,๖๙๕ แห่ง (ยกเว้นเบอร์ลิน) ระหว่างปี ๒๐๐๘-๒๐๑๓ มีผู้เข้ามามากกว่าผู้ย้ายออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองใหญ่ ๆ เช่น ไลป์ซิก เดรสเสน(Dresden) เยนา (Jana) แอร์ฟวร์ต (Erfurt) รอสสต็อค (Rostock) และพ็อตสดัม (Potsdam) ได้รับประโยชน์ โดยเมืองใหญ่ ๆ กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดสำหรับประชาชนอายุน้อยที่เสาะหาที่ฝึกอาชีพหรือสถานศึกษา เนื่องจากตลาดแรงงานที่พัฒนาขึ้น  ทำให้กลุ่มคนหนุ่มสาวจำนวนมากยังอยู่ที่นั่นหลังจบการศึกษา ผู้สูญเสีย ได้แก่ ตำบลในชนบทที่ต้องปล่อยให้ประชาชนอายุเยาว์ย้ายเข้าไปในเมืองใหญ่ ๆ ทำให้ความแตกต่างระหว่างเมืองที่หดตัวและที่เติบโตขึ้นใหญ่ขึ้นทุกที
ตามการศึกษา ๘๕% ของตำบลในเยอรมันตะวันออกยังคงมีผู้ย้ายออกมากกว่าผู้ย้ายเข้าเช่นเดิม คือ สูญเสียประชากรผู้อยู่อาศัย ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมาก  เปิดโอกาสสำหรับตำบลในชนบทที่จะมีผู้อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น ที่ที่ผู้ลี้ภัยใช้ชีวิตถาวรอาจจะช่วยโรงเรียนจากการถูกปิดตัวลง เกิดร้านค้าใหม่ ๆ และที่ทิ้งว่างกลายเป็นพื้นที่อยู่อาศัย แม้ว่าส่วนใหญ่ของผู้มาใหม่จะไปในเมืองและทิศตะวันตก และแม้ว่าคอมมูนในชนบทแทบไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเครือข่ายผู้ลี้ภัย แต่เสนอข้อได้เปรียบอื่น ๆ เนื่องจากที่ซึ่งสังคมรู้จักกันหมดและช่วยเหลือกันตามหลักการปรับตัวเป็นไปได้ง่ายกว่าในสิ่งแวดล้อมแบบเมืองใหญ่ที่ไม่มีใครรู้จักใคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น