วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

        ตามข้อมูลของสถาบันวิจัยความคิดเห็น Allensbach สี่สัปดาห์ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไป ๔๖% ยังไม่รู้ว่าจะลงคะแนนเสียงให้ผู้ใด  โดยมีแนวโน้มและกลุ่ม ต่อไปนี้
๑.               ผู้ลงคะแนนเสียงนาทีสุดท้าย  สมัยก่อนมีการสอบถามครั้งสุดท้ายสิบวันก่อนการเลือกตั้ง  หลังจากนั้น ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งต้องตัดสินใจเอง  ในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้ายถือว่า ๗๒ ชั่วโมงสุดท้ายเป็นตัวตัดสิน  โดยพรรคการเมืองจะเร่งรณรงค์หาเสียงอีกครั้งหนึ่ง  ขณะนี้ถือว่า ๔๘ ชั่วโมงสุดท้ายสำคัญเป็นพิเศษ  ที่ไรน์ลันด์-ฟัลซ์ ซาร์ลันด์ นอร์ดไรน์-เวสท์ฟาเลน และชเลสวิก-โฮลสไตน์ เพียงไม่กี่วันก่อนหน้าการเลือกตั้งรู้สึกได้ถึงแนวโน้มการหวนกลับที่ดำเนินต่อไปจนถึงวันอาทิตย์ที่เลือกตั้ง  นับแต่ทศวรรษที่ ๔๐ มีการระบุว่าเป็นผลกระทบ “bandwagon” โดยท้ายสุดประชาชนจำนวนมากประสงค์จะอยู่กับผู้ชนะ
๒.              ผู้ลงคะแนนเสียงที่ยังตัดสินใจไม่ได้  สัดส่วนเพิ่มขึ้น จาก ๒๖% ในปี ๑๙๙๘ เป็น ๓๕% ในปี ๒๐๐๕ คิดเป็น ๓๙% เมื่อ ๔ ปีก่อนและขณะนี้ ๔๖% โดยยังต่อสู้ยื้อยุดกันอยู่  อย่างไรก็ดี ในขณะเดียวกันสัดส่วนของผู้ที่เห็นว่าการเลือกตั้งตัดสินแล้ว ๑ เดือนก่อนหน้าในคำถามที่ว่าใครจะได้เข้าสู่ทำเนียบนายก ฯ ก็เพิ่มขึ้นด้วย  ตามตัวเลขของสถาบัน Allensbach กลุ่มผู้ที่ยังตัดสินใจไม่ได้ไม่ใช่เปิดกว้างทุกด้าน  ๑๑% เปลี่ยนไปมาระหว่าง CDU/CSU และ SPD  อย่างละ ๙ % ระหว่าง CDU/CSU และ FDP รวมทั้ง SPD และพรรคเขียว  ซึ่งอาจจะมีความสำคัญต่อการรอดชีวิตของพรรคเขียว
๓.              ผู้ไม่ออกเสียงเลือกตั้ง  ตามข้อมูลของ Jürgen Falter นักวิจัยพรรคการเมือง การตรวจสอบจากทศวรรษที่ ๙๐ ได้ผลลัพธ์ว่าภายใต้ผู้ไม่ออกเสียงเลือกตั้งในครั้งกระนั้นแทบไม่มีพวกไม่ลงคะแนนเสียงเพื่อประท้วง  หากแต่ส่วนใหญ่ไม่สนใจการเมือง  โดยปรากฎกับทุกกลุ่มการศึกษา อาชีพและทุกค่าย  ปัญหาในการวิจัยผู้ไม่ออกเสียงเลือกตั้งเกิดขึ้นเนื่องจากส่วนใหญ่ไม่เข้าร่วมการสอบถาม  จำนวนมากกลัวว่าจะถูกเปิดตัว  Falter สันนิษฐานว่านอกเหนือจากความไม่สนใจทางการเมืองยังมีความสิ้นหวัง  เนื่องจากมีการผสมกันที่ยอมประนีประนอมอยู่เสมอ  ทำให้พบได้บ่อยที่ไม่สามารถรักษาคำสัญญาไว้ได้  ทำให้เกิดความรู้สึกว่าคะแนนเสียงของตัวท้ายสุดสามารถก่อให้เกิดอะไรได้น้อย
๔.              ผู้ลงคะแนนเสียงทางไปรษณีย์  นับเป็นเวลา ๖๐ ปีมาแล้วที่สามารถลงคะแนนเสียงทางไปรษณีย์  ทีแรกเพียงสำหรับคนพิการ ผู้ป่วยหรือผู้ที่ติดขัดอย่างอื่น ขณะนี้เปิดกว้างสำหรับทุกคนที่ในวันเลือกตั้งไม่สามารถไปยังคูหาเลือกตั้งได้หรือไม่ประสงค์จะไป นับแต่ปี ๑๙๙๐ สัดส่วนของผู้เลือกตั้งทางไปรษณีย์เพิ่มขึ้น  โดยมีจำนวน ๒๔.๓% ในปี ๒๐๑๓  พรรคการเมืองใหญ่ทุกพรรคเจาะจงบอกกล่าวกับผู้เลือกตั้งทางไปรษณีย์  ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ CDU/CSU ซึ่งในปี ๒๐๑๓ ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งทางไปรษณีย์มาเป็นอันดับหนึ่งด้วยจำนวน ๔๓มากกว่า SPD (๒๔.๔%) เกือบสองเท่า
๕.              ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวเยอรมันเชื้อสายตุรกี  ราว ๑.๒๕ ล้านคนจากผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ๖๑.๕ ล้านคนมีรากเหง้าเป็นชาวตุรกี  ตามการสอบถามผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งสุดท้าย ๖๔% ของชาวเยอรมัน-ตุรกีตัดสินใจเลือกพรรค SPD  ๑๒% พรรคเขียว  ๑๒% พรรคซ้าย เพียง ๗% สำหรับ CDU/CSU  การเรียกร้องของประธานาธิบดี Erdogan ของตุรกีไม่ให้ลงคะแนนเสียงให้กับ CDU/CSU, SPD และพรรคเขียวจะส่งผลอย่างไรยังไม่เป็นที่แน่ชัด

๖.               ผู้มีสิทธิเลือกตั้งชาวเยอรมัน-รัสเซีย  ส่วนใหญ่ของผู้โยกย้ายมาตั้งหลักฐานในประเทศเยอรมัน ๓.๒ ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มอพยพโยกย้ายที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นชาวเยอรมันรัสเซีย  ท้ายสุดได้หันหลังให้กับ CDU/CSU มากขึ้นทุกที  โดยหันไปเลือกพรรคทางเลือก AfD  โดยตัวเลขยืนยันมาจากเขตเลือกตั้งที่ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นผู้โยกย้ายถิ่นในการเลือกตั้งระดับแคว้นต่าง ๆ กัน  แต่ไม่มีการศึกษาล่าสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น