วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561

เที่ยวบินล่าช้าบ่อยขึ้น


          จำนวนการล่าช้ามากของเที่ยวบินในปีนี้เพิ่มขึ้นอย่างหนัก เมื่อเปรียบเทียบกับในปี ๒๐๑๗  ตามการตรวจสอบของ EU-Claim ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงวันที่ ๒๘ พฤษภาคมที่ผ่านมาเที่ยวบิน ๑,๔๖๖ เที่ยวในประเทศเยอรมันล่าช้ามากกว่าสามชั่วโมง  ในการคำนวณนับเพียงการล่าช้าของสายการบิน ๕ สายที่มีความล่าช้าดังกล่าวมากที่สุด  โดยรวมมีการล่าช้ามากกว่านี้  ตรงกันข้าม ในปี ๒๐๑๗ ใน ๕ สายการบินที่มีความล่าช้ามากที่สุดมีการล่าช้าขนาดหนักรวมกันเพียง ๗๓๘ ครั้ง  หรือเพียงครึ่งหนึ่งของปีนี้  สายการบินที่ประสบเหตุ ได้แก่ ยูโรวิงส์ (ล่าช้ามาก ๔๔๒ ครั้งในปีนี้) ลุฟท์ฮันซา (๓๙๓ ครั้ง) ไรอันแอร์ (๒๘๐ ครั้ง) คอนดอร์ (๒๑๒ ครั้ง) และ Tuifly  (๑๓๙ ครั้ง) เห็นว่าการสไตรค์ของกัปตันการบินในประเทศฝรั่งเศส อิตาลีหรือกรีซเป็นสาเหตุที่สำคัญสำหรับการล่าช้า  ฝนฟ้าคะนองจำนวนมากนำไปสู่การที่เที่ยวบินจำนวนมากต้องเปลี่ยนเส้นทาง  นอกจากนั้น ยูโรวิงส์และคอนดอร์ยังเสริมสร้างฝูงบินอย่างหนักหลังอวสานของแอร์เบอร์ลิน  โฆษกของคอนดอร์รับว่าน่าเสียดายที่ในการเริ่มใช้งานของเครื่องบินเหล่านี้มีความล่าช้า  การเพิ่มขึ้นโดยทั่วไปของการคมนาคมก็มีบทบาทด้วย  สายการบิน ๕ สายที่มีการล่าช้ามากที่สุดดำเนินเที่ยวบินจนถึงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาของปีนี้ ๓๕๙,๐๐๐ เที่ยว  มากกว่าในปีก่อนหน้า ๑ ใน ๔   ผู้เชี่ยวชาญเตือนถึงการล่าช้าเป็นเวลานานต่อไปและการล่าช้าสั้น ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกว่า  โดยต้องคำนวณว่าจนถึงปลายเดือนมิถุนายนยังจะมีฝนฟ้าคะนองจำนวนมาก  ประการที่สอง ตามข้อมูลของ EU-Claim ในฤดูร้อนมีการล่าช้านานเนื่องจากมีการคมนาคมมากเป็นพิเศษ  ประการที่สาม ผู้นำร่องอิตาเลียนได้ประกาศการสไตรค์ครั้งใหม่และในประเทศฝรั่งเศสมีอันตรายว่าจะมีการสไตรค์ใหม่  Roland Keppler นายใหญ่ Tuifly กล่าวว่าหากการสไตรค์ดำเนินต่อไป ผู้โดยสารต้องเตรียมพร้อมกับฤดูร้อนที่มีการล่าช้าจำนวนมาก  ประการที่สี่ สายการบินวิจารณ์การที่น่านฟ้ายุโรปมีการควบคุมจากสำนักงานรักษาความปลอดภัยด้านการบินระดับชาติที่ทำงานแตกแยกกันถึง ๒๐ แห่ง  มีผลที่ทำให้การใช้เส้นทางไม่มีประสิทธิภาพ  Keppler กล่าวว่าเราต้องการระบบรักษาความปลอดภัยด้านการบินที่เป็นหนึ่งเดียวกันในยุโรป เพื่อลดความคับแคบ  ซึ่งจะช่วยเพิ่มความตรงเวลาขึ้น  แม้ว่าไรอันแอร์จะไม่ออกความเห็นเกี่ยวกับจำนวนที่ระบุในการศึกษา  แต่ก็เรียกร้องการควบคุมการบินที่ดีขึ้น  โดยกล่าวว่าผลการบริการของการควบคุมการคมนาคมทางอากาศในยุโรปน่าร้องเรียนและเป็นสาเหตุของการล่าช้าที่ยอมรับไม่ได้สำหรับลูกค้าของสายการบิน  คำถามใหญ่ คือ ผู้โดยสารจะได้รับค่าชดเชยหรือไม่  ตามสิทธิของ EU ในการล่าช้าตั้งแต่สามชั่วโมงขึ้นไปมีการชดเชยเป็นจำนวนอย่างน้อย ๒๕๐ ยูโร  แต่สายการบินได้บ่งชี้อย่างถูกต้องว่า กฎนี้ไม่มีผลหากการล่าช้าเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ไม่สามารถบังคับได้ เช่น การสไตรค์หรือสภาพอากาศไม่ปกติ  ตรงกันข้าม Stefanie Winiarz รองประธาน EU-Claim ประเทศเยอรมันมีความเห็นว่าบ่อย ๆ สายการบินระบุอย่างไม่ถูกต้องว่าสภาพแวดล้อมที่ผิดปกติเป็นต้นเหตุของความยุ่งเหยิง เพื่อไม่ต้องชำระค่าชดเชย  EU-Claim จึงแนะนำให้ตรวจสอบในทุกกรณีว่ามีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น