วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

ผักที่ไม่ถูกกับโรค


          ในผู้ป่วยบางโรคการกินพืชผักหรือผลไม้บางชนิดกลับเป็นสิ่งต้องห้าม  เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อโรคที่เป็นอยู่ได้  สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เคยเผยแพร่ผ่านทวิตเตอร์ “@FDAThai  โดยให้ข้อมูลว่า
  • ผู้ป่วยโรคไต  ควรหลีกเลี่ยงการกินพืชผัก-ผลไม้ที่มีสารของกรดออกซาลิกในปริมาณสูง เช่น มันสำปะหลัง ดอกกระหล่ำ ผักโขม ปวยเล้ง เป็นต้น  เนื่องจากกรดออกซาลิกสามารถจับกับแคลเซียมตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วที่ไต  นอกจากนั้น  ผู้ป่วยไตเรื้อรังควรหลีกเลี่ยงผักผลไม้ที่มีโปแตสเซียมสูง เช่น หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก ทุเรียน มะละกอ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย  ซึ่งเป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม  มีปริมาณธาตุเหล็กสูง  แต่ไม่สามารถนำมาสร้างเม็ดเลือดแดงเองได้  ทำให้เกิดภาวะธาตุเหล็กสูงในเลือด  ซึ่งเป็นอันตราย  ฉะนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับสัตว์ เครื่องในสัตว์ รวมไปถึงผักผลไม้ที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักกูด ถั่วฝักยาว ผักแว่น เห็ดฟาง ใบตำลึง ใบแมงลัก ส้ม เป็นต้น
  • ผู้ป่วยโรคไทรอยด์  สิ่งที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้พึงระวัง คือ พืชวงศ์ Cruciderae ได้แก่ กระหล่ำปลี ทูนิปและเมล็ดพันธุ์ผักกาดชนิดต่าง ๆ ซึ่งผลที่เกิดขึ้น คือ จะทำให้เกิดเป็นโรคคอหอยพอก  แต่สารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายโดยการต้ม  จึงควรกินกระหล่ำปลีสุกดีกว่ากระหล่ำปลีต้ม
  • ผู้ป่วยโรคกระเพาะและลำไส้  ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคพริก  เพราะจะทำให้กระเพาะอักเสบได้  ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หากกินพริกปริมาณมากอาจทำให้อาการของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารหนักมากขึ้น  เนื่องจากพริกมีสารที่เรียกว่า “แคปไซซิน”  ซึ่งทำให้เกิดความเผ็ดร้อน  พบมากในส่วนของรกพริก (ไส้แกนกลาง) และเมล็ดพริก  ความเผ็ดของพริกทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น