วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ผักควรระวัง


          ผักผลไม้ที่กินกันทุกวันที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย  ทำให้สุขภาพดีนั้นมีบางชนิดกลับมีอันตรายอย่างไม่น่าเชื่อ  โดยมีสารหรือแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณสูงและอาจก่อให้เกิดโทษกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังบางโรคได้  ตามข้อมูลของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผักผลไม้ที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังควรพึงระวัง ได้แก่
-    ผู้ป่วยโรคไต ควรหลีกเลี่ยงการกินผักผลไม้ที่มีสารที่มีกรดออกซาลิกปริมาณสูง  ซึ่งสามารถจับกับแคลเซียมตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วที่ไต  ทำให้ผู้ป่วยมักมีอาหารคลื่นไส้ อาเจียร ปวดเอว ปัสสาวะปริมาณลดลง
-   ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย  ผู้ป่วยโรคนี้ควรเหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับสัตว์ เลือดสัตว์ เครื่องในสัตว์และผลไม้ที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ผักกูด ถั่วฝักยาว ผักแว่น เห็ดฟาง พริกหวาน ใบแมงลัก ใบกระเพรา ยอดมะกอก ยอดกระถิน
-   ผู้ป่วยโรคไทรอยด์ ควรระวังการบริโภคกระหล่ำปลี ทูนิป และเมล็ดพันธุ์ผักกาดชนิดต่าง ๆ เช่น เมล็ดพันธุ์ผักกาดสีดำ ขาว และน้ำตาล  พืชเหล่านี้มีสารกลูโคซิโนเวท  ซึ่งจะไปขัดขวางการรับไอโอดีนของต่อมไทรอยด์เพื่อเป็นสารตั้งต้นสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน  จะทำให้เกิดเป็นโรคคอหอยพอก  แต่สารพิษเหล่านี้จะถูกทำลายได้โดยการต้ม  จึงควรกินกระหล่ำปลีสุกจะดีกว่ากระกล่ำปลีดิบ
-    ผู้ป่วยโรคกระเพาะและลำไส้  พริกมีสารที่เรียกว่าแค็ปไซซิน  ซึ่งทำให้เกิดความเผ็ดร้อน  พบได้ในพริกแทบทุกชนิด พบมากในส่วนรกและเมล็ด  สารดังกล่าวมีสรรพคุณลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ  หากกินในปริมาณมากจะทำให้กระเพาะอักเสบได้และผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะหากกินพริกในปริมาณมากจะทำให้โรคมะเร็งเป็นมากขึ้นได้

จะเห็นว่าผักที่ใช้เป็นอาหาร บางครั้งถ้ากินมากเกินไปหรือใช้ผิดส่วนของพืชก็จะทำให้เกิดพิษได้  ในบางคนอาจจะเกิดการแพ้อาหารได้  เนื่องจากแต่ละคนอาจจะไวต่อสารแพ้ต่างกัน ฉะนั้น การกินผักผลไม้จะต้องสังเกตว่ามีอาการแพ้หรือไม่และไม่ควรกินผักที่กล่าวมาในปริมาณมากและควรระวังในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น