วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

แอลกอฮอล์

        ผู้มีการศึกษาและผู้มีฐานะควบคุมการเสพแอลกอฮอล์ได้ดีกว่า  ดังนั้นจึงมีชีวิตยืนนานกว่าประชาชนที่ยากจน  แต่จากการศึกษา เหตุผลไม่ใช่ปริมาณของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป  ในกลุ่มผู้มีสถานภาพทางสังคมต่ำกว่า ประชาชนเสียชีวิตจากผลของการดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่ยั้งมากกว่าในกลุ่มที่สมาชิกมีการศึกษาดีกว่า  ความเกี่ยวพันนี้นักวิชาการค้นพบในประเทศสหภาพยุโรป ๑๗ ประเทศที่ทำการตรวจสอบ  นักวิจัยระบุว่าในหลายประเทศกรณีเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์มีส่วนอย่างมากสำหรับความแตกต่างทางสังคมในการเสียชีวิตของประชากร  การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคเรื้อรังและทำให้เสียชีวิตหลายโรค  มันสามารถเป็นสาเหตุของความเสียหายของตับ โรคหัวใจ-การไหลเวียนของโลหิตและมะเร็ง  นำไปสู่แอลกอฮอล์เป็นพิษฉับพลันหรือมีส่วนร่วมในอุบัติเหตุที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต  ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของกรณีเสียชีวิตปีละ ๓.๓ ล้านกรณีทั่วโลก  ซึ่งหมายถึงสัดส่วน ๕.๙% จากกรณีเสียชีวิตทั้งหมด  แอลกอฮอล์ได้รับการดื่มในทุกระดับสังคม  แต่ไม่เหมือนกันในทุกระดับ  ในหลายประเทศแม้ว่าประชากรที่มีฐานะทางสังคมดีกว่าจะดื่มบ่อยกว่าและบางครั้งก็มากกว่าประชาชนที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า  กระนั้น ในกลุ่มสังคมระดับล่างพฤติกรรมการดื่มที่มีปัญหา เช่น การดื่มจนโคมา แพร่หลายมากกว่าอย่างชัดเจน  ซึ่งผลคือในกลุ่มนี้ปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมที่เกิดจากแอลกอฮอล์จะบ่อยกว่าด้วย  ซึ่งเป็นผลลัพธ์การศึกษาของนักวิจัยจากรอตเตอร์ดัมที่ประเทศเนเธอร์แลนด์  โดยนักวิชาการได้วิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกการเสียชีวิตจากประเทศสหภาพยุโรป ๑๗ ประเทศในรอบ ๓๕ ปีที่ผ่านมา  เมื่อตรวจสอบความเกี่ยวพันระหว่างกรณีเสียชีวิตที่มีเงื่อนไขจากแอลกอฮอล์และปัจจัยด้านเศรษฐกิจสังคม  นักวิชาการได้แบ่งผู้เสียชีวิตออกเป็นกลุ่มสังคมหลาย ๆ กลุ่ม  มีพื้นฐานจากระดับการศึกษาและอาชีพ จากผลลัพธ์ของกลุ่มการวิจัย ในทุกประเทศในกลุ่มสังคมระดับล่างมีกรณีเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์บ่อยกว่าในกลุ่มผู้มีการศึกษามากกว่า  เมื่อเปรียบเทียบกันในประเทศฮังการี บุรุษและสตรีเสียชีวิตจากแอลกอฮอล์มากที่สุด  นักวิจัยพบความแตกต่างสูงสุดระหว่างกลุ่มสังคมในประเทศยุโรปตะวันออก รวมทั้งที่ฟินแลนด์และเดนมาร์ก  ตรงกันข้ามในประเทศสเปน ฝรั่งเศส อิตาลีและสวิตเซอร์แลนด์ ความแตกต่างน้อยกว่ามาก  สำหรับประเทศเยอรมันไม่มีผลการศึกษา เนื่องจากในสถิติสาเหตุการเสียชีวิตของสำนักงานสถิติแห่งชาติไม่ได้รวมข้อสังเกตทางสังคม เช่น อาชีพหรือระดับการศึกษาไว้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น