วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ประวัติวันรัฐธรรมนูญ

        วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญของประเทศไทย  โดยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการรำลกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกอันเป็นฉบับถาวร  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและเป็นเครื่องกำหนดระเบียนแบบแผนของประเทศไทย  ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทยเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๗๕  การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวัที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๕  นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย  เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช  ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา ๗๐๐ ปีเศษมาเป็นระบอบประชาธิปไตย  โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
        พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ  เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย  หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก  ผลนี้ได้กระทบมาถึงประเทศไทยด้วย  พระองค์ทรงแก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก  ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ  อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน  รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร ฯลฯ  จากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ ทหารและราษฎรทั่วไป  จึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการปฏิวัติ  มีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร  ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดชและพันเอกพระยาฤทธิ์อาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ  วันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว”  สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย  การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
-                       พระมหากษัตริย์
-                      สภาผู้แทนราษฎร
-                      คณะกรรมการราษฎร
-                      ศาล
ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย  แต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ  เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์  การปฏิบัติราชการต่าง ๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ  โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้  สถาบันที่เกิดใหม่ คือ สภาผู้แทนราษฎร  ซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่าง ๆ  ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครองสภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง  ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ดังเดิม

ประวัติวันรัฐธรรมนูญ

        กระทั่งถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร  ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในสาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองระบบรัฐสภา  ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน  รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น  แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย  อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรี รวมทั้งพระมหากษัตริย์ ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้  หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐ  ซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมา  เพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่  ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ  ผู้ใดจะละเมิดมิได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น