วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

รายงานการบริโภคอาหารในเยอรมัน ๒๐๑๘


        พลเมืองเยอรมันหลายล้านคนทำอาหารที่บ้านเป็นประจำ กินผักมาก และอยากเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับพันธุ์  กระนั้น อาหารเร่งด่วนหรือสแน็ครองท้องระหว่างทางและอาหารที่ราคาถูกยังคงเป็นแนวโน้มต่อไปด้วย ตามรายงานการบริโภคประจำปี ๒๐๑๘ ที่ Christian Schmidt รัฐมนตรีการบริโภคและการเกษตรได้เสนอเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา  นักวิจารณ์ได้กล่าวหาชมิดท์ว่าเสนอข้อมูลตัวเลขที่ไม่มีความสำคัญ แทนที่จะเสนอความคิดริเริ่มเพื่ออาหารที่ดีกว่าเดิม  ตามรายงาน ๒๓% ของพลเมืองเยอรมันซื้อขนมปังประกบไส้ เบอร์เกอร์ พิซซา หรือสแน็คอย่างอื่นอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อสัปดาห์  ๒๐% ออกไปกินอาหารนอกบ้าน ๑ ครั้งหรือหลายครั้งต่อสัปดาห์  % สั้งอาหารมากินที่บ้านอย่างน้อย ๑ ครั้งต่อสัปดาห์  ๙๙% ให้คุณค่ากับอาหารอร่อย  ๙๒% อาหารที่ถูกสุขลักษณะ  ขณะเดียวกัน ๔๓% ของพลเมืองเยอรมันทำอาหารที่บ้านแทบทุกวัน  อีก ๓๘% ทำอาหารเอง ๒-๓ ครั้งต่อสัปดาห์  ในกลุ่มผู้มีอายุ ๑๔-๑๘ ปี ๘๓% ชอบทำอาหาร  ตัวเลขจะลดลงเล็กน้อยเมื่ออายุเพิ่มขึ้น  ในกลุ่มอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปมีจำนวน ๖๖%  ๑๔% ของบุรุษ และ ๓% ของสตรีไม่ทำอาหารเลย  Peter Matuscheck จากสถาบัน Forsa ที่ทำการสอบถามภายใต้การมอบหมายของกระทรวงการบริโภคและการเกษตรกล่าวว่าโดยรวมพฤติกรรมการกินในรอบ ๓ ปีหลังคงที่เป็นส่วนใหญ่  ชมิดท์เน้นว่าน้ำหนักมากเกินไปเป็นปัญหาที่จริงจัง  ๑๕% ของผู้มีวัยระหว่าง ๓-๑๗ ปีน้ำหนักมากเกินไป  ๑ ใน ๕ กินของหวานหลายครั้งต่อวัน  ๑ ใน ๓ ของพลเมืองเยอรมันกินเนื้อสัตว์ ๗๒% กินผลไม้และผัก  ๖๕% ผลิตภัณฑ์นม  สัดส่วนของผู้ที่เห็นว่าในเรื่องอาหาร ราคาสำคัญลดลงจาก ๔๔% ในปี ๒๐๑๕ เหลือ ๔๐% ในปี ๒๐๑๗  พลเมืองเยอรมัน ๙ จาก ๑๐ คนรับว่ายินยอมจะใช้จ่ายเงินมากขึ้นสำหรับอาหารจากการเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับพันธุ์ของสัตว์  โดย ๑๖% พร้อมจะชำระเงิน ๑๒ ยูโรสำหรับเนื้อสัตว์ ๑ กิโลกรัม  ๕๒% ถึง ๑๕ ยูโรและ ๒๙% พร้อมชำระเงินมากกว่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น