วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อ้วนหรือไม่ รู้ได้อย่างไร

        ตามข้อมูลของมูลนิธิหมอชาวบ้าน การสังเกตว่าตัวเอง คนใกล้ชิดอ้วน น้ำหนักเกิน หรือ น้ำหนักเท่าไรจึงเหมาะสมกับร่างกาย มีวิธีดังนี้
๑.   การวัดเส้นรอบเอว  ผู้ชาย เส้นรอบเอวไม่เกิน ๓๖ นิ้ว (๙๐ เซนติเมตร) ถ้ามากกว่านี้ถือว่าอ้วนลงพุง  ผู้หญิง เส้นรอบเอวไม่เกิน ๓๒ นิ้ว (๘๐ เซนติเมตร) ถ้ามากกว่านี้ถือว่าอ้วนลงพุงเช่นกัน
๒.   คำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index : BMI) โดยดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วย (ส่วนสูง (เมตร) คูณ ส่วนสูง)  ตัวอย่างเช่น น้ำหนักตัว ๖๐ กิโลกรัม สูง ๑๗๐ เซนติเมตร (๑.๗๐ เมตร) ดัชนีมวลกาย = ๖๐ หาร (๑.๗๐ คูณ ๑.๗๐) ค่า BMI คือ ๒๐.๗๖ กิโลกรัมต่อตารางเมตร  ถ้าค่า BMI อยู่ระหว่าง ๑๘-๒๕ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ  กรณีค่า BMI สูงมากกว่า ๓๐ ถือว่าอ้วนมาก  ต้องลดน้ำหนักทันทีและปรับพฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันและออกกำลังกานสม่ำเสมอ
๓.   คำนวณน้ำหนักที่ไม่ควรน้อยกว่านี้  มีวิธีง่าย ๆ คือ ส่วนสูง (เมตร) คูณด้วยส่วนสูงคูณ ๑๘ (ค่าดัชนีมวลกายขั้นต่ำ) จะได้น้ำหนักที่ไม่ควรน้อยกว่านี้ ตัวอย่างเช่น สูง ๑๗๕ เซนติเมตร (๑.๗๕ เมตร) นั่นคือ ๑.๗๕ คูณ ๑.๗๕ คูณ ๑๘ = ๕๕.๑๒๕ กิโลกรัม น้ำหนักไม่ควรน้อยกว่านี้  ถ้าน้อยกว่าถือว่าเข้าข่ายค่อนข้างผอม
๔.  คำนวณน้ำหนักที่ไม่ควรมากกว่านี้  มีวิธีง่าย ๆ คือ ส่วนสูง (เมตร) คูณส่วนสูงคูณ ๒๕ (ค่าดัชนีมวลกายขั้นสูง) จะได้น้ำหนักที่ไม่ควรมากกว่านี้ ตัวอย่างเช่น สูง ๑๗๕ เซนติเมตร (๑.๗๕ เมตร)  นั่นคือ ๑.๗๕ คูณ ๑.๗๕ คูณ ๒๕ = ๗๖.๕๖ กิโลกรัม คือน้ำหนักที่ไม่ควรมากกว่านี้  มิฉะนั้นจะถือว่าอ้วน
แต่ที่สำคัญ คือ การกินอาหารแต่พอดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละ ๕ ครั้ง  อารมณ์แจ่มใสและหลีกเลี่ยงสุรา บุหรี่ ซึ่งเป็นตัวบั่นทอนสุขภาพกายสุขภายใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น