วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

หลอดไฟประหยัดพลังงาน

        ศาลสหพันธ์ (BGH) ได้ยืนยันในการพิจารณาคดีขั้นสุดท้ายเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายนที่ผ่านมา ห้ามการใช้หลอดไฟของผู้ผลิตจากนีเดอร์ซักเซน ที่ในการทดลองพบว่าประกอบด้วยปรอทเกินค่าที่กำหนดอย่างชัดเจน 
ผู้ฟ้องร้อง ได้แก่ Deutsche Umwelthilfe (DUH) ที่ประกาศจะดำเนินการกับผู้ผลิตรายอื่น ๆ ต่อไป  ข้อได้เปรียบของหลอดไฟแบบประหยัดพลังงาน ได้แก่ เปลืองไฟน้อยและใช้งานได้นานกว่า  ซึ่งมีส่วนช่วยในการปกป้องสภาพภูมิอากาศ  แต่หลอดไฟฉาบด้วยปรอท ซึ่งทำให้ส่องแสง  ปรอทเป็นโลหะหนักที่พบในธรรมชาติและเป็นพิษกับมนุษย์  ในการใช้งานธรรมดาหลอดไฟไม่ให้อันตราย  แต่หากหลอดไฟแตก และปรอทไหลออกมาต้องระวังอย่างยิ่ง  

หากหลอดไฟแตกในที่อยู่อาศัยควรเปิดให้อากาศในห้องถ่ายเท  ท้ายสุดใช้กระดาษกวาดเศษแก้วเข้าด้วยกัน  ใส่ในภาชนะที่ปิดสนิท แล้วนำไปยังสถานีรีไซเคิล  ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นด้วยประการทั้งปวง  ส่วนหลอดไฟที่ไม่แตก  แต่เสียแล้ว  ไม่ควรทิ้งในถังขยะ  แต่สามารถนำไปมอบที่จุดรวบรวม เช่น ในร้านขายเครื่องไฟฟ้าขนาดใหญ่  แต่ไม่ควรโยนลงไป  เนื่องจากหากหลอดไฟแตก ปรอทจะไหลออกมา  อย่างไรก็ดี นักคุ้มครองผู้บริโภคเชื่อว่าหลอดไฟแบบประหยัดพลังงานแตกน้อยครั้งมาก  ปัญหาปรอทในหลอดไฟแต่ละดวงก็ไม่เท่ากัน  ขึ้นอยู่กับว่าหลอดไฟประกอบด้วยปรอทมากเท่าใดอและผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีใด  นับแต่ปี ๒๐๑๓ เกณฑ์สำหรับปรอทต่อหลอดไฟอยู่ที่ ๒.๕ มิลลิกรัม  แต่ DUH ค้นพบหลอดที่ค่าเกินกว่าเกณฑ์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น