วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562

บรรจุภัณฑ์พลาสติก


        ตามข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญ บรรจุภัณฑ์พลาสติกจะไม่หายไปจากชีวิตประจำวันในระยะเวลาอันใกล้นี้  Sven Sängerlaub จากสถาบัน Fraunhofer ที่ Freising กล่าวว่าเขาไม่เชื่อว่าจะสามารถหาสิ่งทดแทนพลาสติกได้อย่างรวดเร็ว  บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีข้อได้เปรียบหลายประการ ได้แก่ บางมาก เบา และมีคุณสมบัติการกันรั่วได้แน่นหนา หมายถึงว่า พลาสติกจำนวนมาก ความชื้นหรือลมผ่านเข้าออกไม่ได้  ซึ่งเป็นประเด็นข้อดีในอุตสาหกรรมและการค้า  แก้ว แผ่นโลหะหรืออลูมิเนียมหนากว่ามาก หรือจำเป็นต้องใช้พลังงานมากกว่าในการผลิต ตามคำกล่าวของ Sängerlaub 
กระนั้น วัสดุที่ไม่ใช่พลาสติกเหล่านี้ ก็มีข้อได้เปรียบสำหรับการใช้จำนวนมาก  ทั้งการผลิตบรรจุภัณฑ์และปริมาณขยะบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้น นับแต่เริ่มต้นศตวรรษ  ซึ่งไม่เพียงความต้องการทางเศรษฐกิจเท่านั้นที่มีบทบาท  แต่พฤติกรรมการบริโภคของพลเมืองก็มีส่วนด้วย  จำนวนที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือนเดี่ยวหมายถึงว่ามีการเสนอผลิตภัณฑ์ในบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กมากขึ้น  นั่นคือบรรจุภัณฑ์มากขึ้นสำหรับสิ่งของเนื้อในน้อยลง 
Ulf Kelterborn ผู้อำนวยการสมาคมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พลาสติกกล่าวว่าในซุปเปอร์มาร์เก็ตมีการเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อความสะดวกมากขึ้นทุกที  ซึ่งต้องห่อในแผ่นพลาสติกเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น กล้วยที่ปอกแล้ว หรือมะนาว  ตามข้อมูลของสาขาบรรจุภัณฑ์ ในปี ๒๐๑๗ ในประเทศเยอรมันมีการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกเกือบ ๔.๔ ล้านตัน  มากกว่าปีก่อนหน้า(๒๐๑๖)เกือบแสนตัน  แม้การหลีกเลี่ยงถุงพลาสติกของสาขาร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตจำนวนมาก ก็ยังไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร 
Sängerlaub กล่าวว่ามีสูตรหยาบ ๆ ที่ว่าในอาหาร ใช้ทรัพยากรซ่อนอยู่มากกว่าในบรรจุภัณฑ์สิบเท่า  เช่น เมื่อซื้อเนื้อวัว ๑ ชิ้น ต้องมีการดูแลและให้อาหารวัวเสียก่อน ในเนื้อ ๑ ชิ้นมีพลังงานที่ต้องใช้ในการผลิตซ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก จนคนเราควรคำนึงหลีกเลี่ยงการโยนทิ้งอาหารในทุกกรณี  สาขาบรรจุภัณฑ์โต้แย้งว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกยืดอายุอาหารให้สูงขึ้น  ทำให้ลดการสูญเปล่า 
Kelterborn กล่าวว่าแตงกวาที่ไม่ได้ห่อพลาสติคจะสูญเสียน้ำทำให้แห้งเร็วกว่ามาก  สัดส่วนของแตงกวาที่กินไม่ได้แล้ว ที่โดนโยนทิ้งในร้านค้าจะสูงกว่านี้หลายเท่า  เขามีความเห็น ว่าบรรจุภัณฑ์ต้องลงทุน ดังนั้น จะไม่มีการใช้บรรจุภัณฑ์หากไม่จำเป็น  แต่เป็นปัญหาของพฤติกรรมผู้บริโภคมากกว่า  ในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การรักษาผลิตภัณฑ์ให้มีอายุยืนยาวทำให้ขยะบรรจุภัณฑ์เป็นปัญหาใหญ่  นอกจากนั้น ความก้าวหน้าด้านเทคนิคก็ทำให้การรีไซเคิลยากขึ้น 
Rolf Buschmann ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมขององค์การสิ่งแวดล้อม BUND กล่าวว่าสมัยก่อนมีบรรจุภัณฑ์กระดาษแข็งแบบง่าย ๆ  ทุกวันนี้มีวัสดุห่อหุ้มหลายชั้น  ซึ่งทำอย่างซับซ้อนจนมีปัญหาเรื่องการนำกลับไปใช้อีก  ๕๒% ของบรรจุภัณฑ์ที่ถูกทิ้งในถุงเหลืองรีไซเคิลไม่ได้ 
สหภาพยุโรปได้กดดันในการต่อสู้กับขยะพลาสติก  โดยประสงค์จะห้ามไม้แคะหู หลอดดูด และจานชามที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง  รัฐบาลเยอรมันก็ได้สนับสนุนข้อเสนอของคณะกรรมาธิการ EU 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น