วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562

Brexit กับการขอสัญชาติมากขึ้น


          สหราชอาณาจักรพัฒนาไปอย่างไรทางสังคมและเศรษฐกิจหลังการลงมติ Brexit แสดงให้เห็นใน “Brexit Monitor” ของสำนักงานสถิติแห่งชาติตามดัชนีด้านเศรษฐกิจสังคมที่ได้รับคัดเลือกบางตัว  โดยสัดส่วนของชาวอังกฤษที่โอนสัญชาติเป็นชาวเยอรมันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจาก ๒,๘๖๕ คน ในปี ๒๐๑๖ เป็น ๗,๔๙๓ คน ในปี ๒๐๑๗  หรือเพิ่มขึ้น ๑๖๒%  ที่ชัดเจนเช่นเดียวกัน ก็ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจำนวนชาวเยอรมันที่ขอสัญชาติในสหราชอาณาจักร  โดยจำนวนเพิ่มขึ้นจาก ๙๙๔ คนในปี ๒๐๑๖ เป็น ๒,๖๓๖ คนในปี ๒๐๑๗ (+๑๖๕%)  ทั้งสองกรณีมีความเกี่ยวโยงกับการตัดสินเรื่อง Brexit  นับแต่การลงมติในปี ๒๐๑๖ ตลาดแรงงานอังกฤษแสดงความมีเสถียรภาพเป็นส่วนใหญ่  ตามการเปิดเผยของสำนักงานสถิติแห่งชาติโดยมีพื้นฐานจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป อัตราการว่างงาน ๔.๑% (กันยายน ๒๐๑๘) ในผู้มีวัย ๑๕-๗๔ ปีอยู่ในกลุ่มจำนวนที่ต่ำที่สุดในสหภาพยุโรป  ในประเทศเยอรมันในช่วงเดือนเดียวกันอยู่ที่ ๓.๔%  เฉลี่ยของ EU อยู่ที่ ๖.๗%  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นทั้งในปี ๒๐๑๖ และ ๒๐๑๗ ปีละ ๑.๘%  โดยอยู่ต่ำกว่าเฉลี่ยของ EU เล็กน้อย (ในปี ๒๐๑๖ คิดเป็น +๒.๐% และปี ๒๐๑๗ คิดเป็น +๒.๔%)  ในกรณีที่สหราชอาณาจักรออกจาก EU สมาคมรัฐจะสูญเสียประเทศสมาชิกที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามด้วยจำนวนผู้อยู่อาศัยราว ๖๖.๒ ล้านคน   นอกจากนั้น นอกเหนือจากประเทศเยอรมันและฝรั่งเศส สหราชอาณาจักรยังเป็นหนึ่งในสามประเทศเศรษฐกิจใหญ่ของ EU

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น