วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กลุ่มผู้สูงวัยตัดสินการเลือกตั้ง

        ในการเลือกตั้งทั่วไปปี ๒๐๑๗ พลเมือง ๓๖% ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดจะมีวัยสูงกว่า ๖๐ ปี  รุ่นวัยต่ำกว่า ๓๐ ปีมีจำนวนเพียง ๑๕.๔% ของคะแนนเสียง  นอกจากนั้น ผู้มีวัยน้อยยังทำตัวอยู่ตรงขอบเสียเอง  ในการเลือกตั้งปี ๒๐๑๓ ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่ำที่สุด ได้แก่ กลุ่มผู้มีวัย ๒๑-๒๕ ปี ด้วยจำนวนเพียง ๖๐.๓ตรงกันข้าม กลุ่มผู้มีวัย ๖๒-๗๐ ปีไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงที่สุดด้วยจำนวน ๗๙.๘สำหรับ Wolfgang Gründinger นักรัฐศาสตร์และนักเขียน คำถามเรื่องอำนาจได้รับการตัดสินแล้ว  ผู้อยู่ตรงกลางของสังคมไม่ใช่ชนรุ่นเยาว์  หากแต่ผู้ที่เกิดในช่วงเบบีบูม ซึ่งกำลังจะเข้าสู่วัยเกษียณในไม่ช้า  โดยกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของพรรคการเมืองใหญ่ ๆ  ขณะนี้ผู้เลือกตั้งเฉลี่ยมีวัย ๕๒ ปี  ซึ่งหมายความว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เลือกตั้งทั้งหมดมีวัยสูงกว่า ๕๐ ปี  จนกว่าจะถึงปี ๒๐๖๐ ค่าอายุเฉลี่ยนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น ๕๗ ปี  ซึ่งทำให้ส่งผลถึงนโยบายการเมืองด้วย 
ในการศึกษาทิศทางการเมืองของกลุ่มวิจัยการเลือกตั้ง(Wahlen) เกี่ยวกับความขัดแย้งทางสังคมที่สำคัญจากเดือนมกราคม ๒๐๑๖ ต่อคำถามที่ว่าหัวข้อใดได้รับการพิจารณาว่าสำคัญ ชนรุ่นสูงอายุไม่ได้แตกต่างจากชนรุ่นหลังมากนัก  หัวข้อที่สำคัญที่สุดโดยทิ้งห่างหัวข้ออื่นในกลุ่มผู้เลือกตั้งทั้งหมด ได้แก่ ชาวต่างชาติ/การปรับตัว/ผู้ลี้ภัย ตามมาด้วยความเอนเอียงทางสังคม การก่อการร้าย นโยบายบำนาญ ความผิดหวังทางการเมือง การศึกษาและอาชญากรรม  แต่ถ้าเจาะลึกลงไปก็จะพบความแตกต่างที่สำคัญ 

สถาบัน Civey ได้วิเคราะห์บางหัวข้อที่เป็นตัวตัดสินการเลือกตั้งเป็นพิเศษสำหรับหนังสือพิมพ์ “Welt”  ตามข้อมูล หัวข้อเกี่ยวกับผู้อพยพอยู่ในอันดับแรกสำหรับผู้มีวัย ๕๐-๖๔ ปี (๔๒%)  ระหว่างที่ผู้เลือกตั้งวัยต่ำกว่า ๓๐ ปีวิตกกังวลเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันทางสังคม (๔๖%)  การอพยพเพียง ๒๗ความกลัวการก่อการร้ายก็เพิ่มขึ้นตามวัยด้วย ส่วนกลุ่มอายุน้อยและอายุกลางคน สิ่งแวดล้อมสำคัญกว่าในกลุ่มสูงอายุ  ที่เด่นชัดที่สุด ได้แก่ ความแตกต่างในนโยบายบำนาญ  เพียง ๖.๓% ของกลุ่มผู้มีวัยต่ำกว่า ๓๐ ปีเห็นว่าระบบบำนาญทุกวันนี้ยุติธรรม  ตรงกันข้ามในกลุ่มผู้มีวัยสูงกว่า ๖๕ ปีมีจำนวนเกือบ ๒๘๔๓% ของผู้มีวัยน้อยและถึงกับ ๕๓% ของผู้มีวัย ๓๐-๓๙ ปีเห็นว่าระบบบำนาญให้ประโยชน์กับชนรุ่นสูงอายุ  ตรงกันข้าม ผู้มีวัยสูงกว่า ๖๕ ปีเพียง ๒๗% รู้สึกว่าตนเองได้รับเอกสิทธิ์  โดยรวมนักวิจัยพบการมุ่งความสนใจไปที่อนาคตน้อยลงและจรดจ่อที่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นในทุกรุ่นวัย  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น