วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โอกาสทองสำหรับประเทศเยอรมัน

         David Folkerts-Landau หัวหน้าเศรษฐกรของธนาคาร Deutsche-Bank มองว่าการหลั่งไหลของผู้ลี้ภัยขณะนี้เป็นโอกาสสำหรับประเทศเยอรมันที่มีประชากรสูงวัยขึ้น  เขาวิเคราะห์ว่าที่นี่แรงงานขาดแคลน ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจมีอันตรายว่าจะชะงัก  หากไม่มีผู้อพยพ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าจะลดลงจากปัจจุบันเฉลี่ยราว ๑.๕% เหลือเพียง ๐.๕% ต่อปีเท่านั้น  ระบบบำนาญรูปแบบปัจจุบันแทบจะรักษาไว้ไม่ได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดหนัก  การหลั่งไหลเข้ามาของผู้ลี้ภัย  มีความเป็นไปได้ที่จะลดความท้าทายที่เกิดจากเงื่อนไขด้านประชากรของประเทศเยอรมันและลดภาระด้านสังคมของเยอรมัน  แต่มีเงื่อนไขว่าการปรับตัวในตลาดแรงงานและในสังคมต้องประสบความสำเร็จ  ซึ่งเป็นเรื่องหนักใจทั้งสำหรับประชากรในประเทศและผู้มาใหม่ด้วย 

อย่างไรก็ดี ในกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องถกเถียงกันว่าผู้ลี้ภัยมีโอกาสหางานได้หรือไม่  เนื่องจากที่พบได้บ่อย มีการศึกษาน้อย  ที่แน่นอนคือมีรายจ่ายมหึมาสำหรับประเทศเยอรมัน  แทนการกล่าวถึงค่าใช้จ่าย  Folkerts-Landau ชอบพูดถึง “การลงทุนทางการเงินในต้นทุนมนุษย์ของรัฐ” ที่เปิดโอกาสในตลาดแรงงานเยอรมันให้กับผู้ลี้ภัยมากกว่า  ภาระมหาศาลของการปรับตัวของผู้ลี้ภัยต้องถูกมองว่าเป็นการลงทุนสำหรับอนาคต  ผู้ลี้ภัยยังอายุน้อย  สัดส่วนของผู้มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีอยู่ที่ ๓๐%  ตามข้อมูลของสำนักงานตัวแทนจัดหางาน สันนิษฐานว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ขอลี้ภัยไม่จบการศึกษาเพื่อประกอบอาชีพใด  แต่ ๑๕-๒๕% จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย  Jörg Zeuner หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ KfW เน้นว่าการหลั่งเข้ามาอย่างหนักของผู้ลี้ภัยหมายถึงแรงกระตุ้นทางบวกทางเศรษฐกิจ ในรูปของรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการบริโภคและการสร้างที่อยู่อาศัย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น