วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

ต้องการผู้อพยพ

ชาวเยอรมันสูงอายุมากขึ้นทุกทีและมีจำนวนน้อยลงทุกที  ทุกวันนี้ประชาชนมากกว่า ๘๐ ล้านคนใช้ชีวิตอยู่ในสหพันธ์สาธารณรัฐ  ในปี ๒๐๖๐ จะมีพลเมืองลดลงเหลือเพียง ๖๗-๗๓ ล้านคน  ขึ้นอยู่กับว่าถึงขณะนั้นมีผู้อพยพเข้ามาเท่าใด  ทั้งนี้ เป็นการคำนวณของสำนักงานสถิติแห่งชาติ  ทุกวันนี้ทุก ๑ ใน ๕ คนอายุ ๖๕ ปีหรือแก่กว่า  ในปี ๒๐๖๐ จะเป็นทุก ๑ ใน ๓ คน  จนถึงขณะนั้นจำนวนประชาชนที่วัยสูงกว่า ๘๐ ปีจะเพิ่มขึ้น ๒ เท่า  ตรงกันข้ามกลุ่มที่ทำงานและชำระเงินเข้ากองคลังประกันบำนาญและประกันสังคมจะเล็กลงอย่างไม่หยุดยั้ง  มันเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านประชากรและหมายความว่ามีภาระหนักรอระบบบำนาญและสุขภาพอยู่ข้างหน้า  ผู้ทำงานน้อยลงทุกทีต้องจ่ายเงินให้กับผู้เกษียณมากขึ้นทุกที  ประชาชนอายุน้อยจำนวนน้อยลงทุกทีต้องรับผิดชอบผู้ต้องการการดูแลมากขึ้นทุกที  ตลาดแรงงานมุ่งเข้าสู่การขาดแคลนแรงงานมีฝีมืออย่างหนัก  ในภูมิภาคชนบทจะว่างเปล่าขึ้นเรื่อยๆ  ประชาชนอายุน้อยจะย้ายไปที่อื่น  ในหลายส่วนของสาธารณรัฐ โรงเรียนและสถานเลี้ยงดูเด็กต้องปิดตัวลง ซูเปอร์มาร์เกต สาขาธนาคาร ไปรษณีย์และสถานที่ราชการปิดกิจการ คลีนิคแพทย์ก็เช่นเดียวกัน
Ludger Pries นักสังคมวิทยาจากโบคุมกล่าวว่าพัฒนาการด้านประชากรเป็นเหมือนโรค  ประเทศเยอรมันจะรับรู้การแก่ตัวลงของสังคมในวิถีทางที่เป็นโศกนาฏกรรม  ประเทศต้องพึ่งพาผู้อพยพอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลง  แต่ก็มีขอบเขตจำกัด  แม้หากสหพันธ์สาธารณรัฐในปีต่อ ๆ ไปจะบรรลุการอพยพของประชาชน ๒๐๐,๐๐๐ คนต่อเนื่องทุกปี  โดยเป็นประชาชนในวัยทำงานระหว่าง ๒๐-๖๔ ปี กระนั้นจนกว่าจะถึงปี ๒๐๕๐ พลเมืองที่ทำงานได้จะลดลง ๑๐ ล้านคน
ตามการประเมินของ Thomas Bauer นักวิจัยเศรษฐกิจ ผลที่ตามมาคือระยะเวลาทำงานนานขึ้นและเงินบำนาญน้อยลง  นอกจากนั้น สตรียิ่งต้องเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นและเสริมด้วยผู้อพยพ  แม้ว่าผู้อพยพเพียงลำพังไม่สามารถแก้ปัญหาได้  แต่เป็นปัจจัยที่สำคัญในการตอบรับความท้าทาย  การอพยพอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบกว่า ๒ ทศวรรษเรียบร้อยแล้ว  สหพันธ์สาธารณรัฐเป็นหนึ่งในประเทศอพยพที่ได้รับความนิยมสูงสุดและอยู่ในอันดับ ๒ รองจากสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ดี ความต้องการแรงงานต่างชาติสูงมาก  จนถึงปัจจุบันผู้อพยพส่วนใหญ่มาจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป  แต่คาดว่าผู้อพพยส่วนมากจะไม่อยู่ถาวร  หากแต่กลับไปยังบ้านเกิดเมื่อใดที่สภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่นั่นดีขึ้น   ซึ่งหมายถึงว่าระยะยาวประเทศเยอรมันต้องการผู้อพยพมากขึ้นและผู้อพยพอื่น ๆ เพื่อต่อต้านพัฒนาการด้านประชากรหดหาย
Pries และ Bauer อยู่ในคณะที่ปรึกษาด้านวิชาการของมูลนิธิเพื่อการปรับตัวและการโยกย้ายถิ่นเยอรมัน  ผู้เชี่ยวชาญพบว่าสหพันธ์สาธารณรัฐแซงหน้าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอพยพดั้งเดิม  นโยบายการอพยพดีกว่าชื่อเสียง  แต่ยังมีอะไรต้องทำอีกมาก  Christine Langenfeld ประธานที่ปรึกษาด้านวิชาการกล่าวว่า  แรงดึงดูดในฐานะประเทศอพยพขึ้นอยู่กับบรรยากาศทางสังคมสูง  ซึ่งตรงนี้มีปัญหา  ประชาชนที่ Dresden และที่อื่นประท้วง “การถูกอิทธิพลต่างด้าวครอบงำ” ของสังคม  การกดขี่ชาวต่างชาติแพร่หลาย การประท้วงต่อต้านผู้ลี้ภัยที่เพิ่มขึ้นและการจู่โจมที่พักผู้ลี้ภัย  การอพยพจะทำให้ประเทศเยอรมันเปลี่ยนแปลงไป  ซึ่งสังคมต้องพูดคุยอย่างเปิดเผย  การเมืองต้องทำให้ประชาชนรับรู้ว่าการอพยพเป็นโอกาสและเป็นเรื่องจำเป็นอย่างที่สุด เนื่องจากการแก่ตัวลงของสังคม  Wilfried Bos ที่อยู่ในคณะที่ปรึกษาเช่นเดียวกันกล่าวว่าบำนาญจะได้รับการชำระจากผู้อพยพและไม่ใช่จากผู้อื่น  บำนาญของผู้ที่อยู่ที่เดรสเดนก็จะได้รับการชำระจากผู้อพยพด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น