วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

วันมาเลเรียโลก

ตั้งแต่ปี ๒๐๐๗ วันที่ ๒๕ เมษายนของทุกปีเป็น “วันมาเลเรียโลก”  ในปีนี้คำขวัญมีว่า “ลงทุนในอนาคต เอาชนะมาเลเรีย”   โดยองค์การสหประชาชาติประสงค์จะรำลึกถึงประชาชนที่ในแต่ละปีเสียชีวิตจากโรคที่แพร่เชื้อโดยยุงลาย  ตามการประเมินขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี ๒๐๑๓ ประชาชนเสียชีวิต ๕๘๔,๐๐๐ คน  ตามการศึกษาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน แต่ละปีประชาชนถึง ๑.๒ ล้านคนตกเป็นคนไข้โรคนี้  มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้เป็นเด็กวัยต่ำกว่า ๕ ปี  ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปอัฟริกา  WHO ประเมินว่าประชาชนราว ๓.๓ พันล้านคนใน ๙๗ ประเทศใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่จะเป็นมาเลเรีย แต่ละปีประชาชน ๓๐๐ ล้านคนป่วยด้วยโรคมาเลเรีย  ความอบอุ่นขึ้นของสภาพภูมิอากาศจะทำให้พื้นที่แพร่ระบาดของยุงลาย (และมาเลเรีย) ในอนาคตจะใหญ่ขึ้น  นอกจากนั้นทั่วโลกมีการดื้อยาฆ่าแมลงและยารักษามาเลเรียมากขึ้นทุกที  กระนั้น ในการต่อสู้กับโรคก็มีความก้าวหน้าสูง  ในประเทศในเอเชียบางประเทศอาจสูญหายไปเลย  ระหว่างปี ๒๐๑๐-๒๐๑๓ อัตราการเสียชีวิตทั่วโลกลดลง ๔๗%  แม้ว่ามูลนิธิบิลล์และเมลินดา เกตส์จะวิจัยวัคซีนต่อต้านมาเลเรีย  จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนที่ไว้วางใจได้และประชาชนทั่วไปเข้าถึง สามารถจ่ายเงินได้
โรคที่ถูกเรียกว่า “Sumpffieber“ ด้วยได้รับการแพร่เชื้อจากยุงลายตัวเมีย  เชื้อโรคจะเข้าสู่เส้นโลหิตของมนุษย์ผ่านรอยยุงกัด  มาเลเรียมี ๓ ประเภท
  • Malaria Tropica ซึ่งถือว่าเป็นชนิดที่อันตรายที่สุด  นำไปสู่การเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก หากขาดการรักษาหรือรักษาช้าเกินไป  จะพบในป่าร้อนชื้นและกึ่งร้อนชื้นเป็นส่วนใหญ่
  • Malaria Tertiana พบในโซนอากาศที่ไม่รุนแรง เช่นที่ตะวันออกไกลเป็นส่วนใหญ่ โดยทั่วไปมีการบวมที่ม้ามและตับ
  • Malaria Quartana ส่วนใหญ่พบในพื้นที่แออัดในป่าร้อนชื้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น