วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

มโนสาเร่ (๓) : ชื่อชาวมุสลิม

เอกอัครราชทูต  วิญญู  แจ่มขำ

คำว่า  “มุสลิม”  มาจากคำว่า  “อิสลาม”  ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ  แปลว่า  “ผู้มอบตน (ต่อพระผู้เป็นเจ้า)”  และคำว่า  “อิสลาม”  หมายถึง  “การมอบตน  (ต่อพระผู้เป็นเจ้า)  ซึ่งมาจากรากศัพท์เดิมว่า  “สะลิมะ”  แปลว่า  “ความปลอดภัย  ความสันติสุข”
“พระผู้เป็นเจ้า” ของศาสนาอิสลาม ทรงพระนามว่า “พระอัลเลาะฮ (ซุบบาฮานา ฮูวาตาอาลา) * เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่อาดัมและฮาวา (อาดัมและอีวา) บรรพชนคู่แรกของโลกนับถือ  เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนทูตนบีนูฮ. (โนอา หรือพระมนุ) นับถือ เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนทูตนบีอิบรอฮีม(อับราฮัม หรือพราหมณ์) นับถือ  เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนาทูตนบีอิสหาก(ยิศหาก) นับถือ  เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนทูตนบียูซุฟ(โยเซฟ) นับถือ เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนทูตนบีมูซา (โมเสส) นับถือ  เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ ศาสนทูตนบีฮารูณ(ฮาโรน) นับถือ    เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนทูตนบีดาวูด (เดวิด) นับถือ  เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนทูตนบีสุไลมาน (โซโลมอน)  นับถือ  เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนทูตนบีอิสมาอีล(อิสไมล์)  นับถือ  เป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ศาสนทูตนบีอีซา (พระเยซู) นับถือ  และเป็นพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกับที่ ศาสนทูตนบีมุฮัมมัด (ซอลัลลอฮอะลัยฮิวะซัลลัม) ** ซึ่งเป็นศาสนทูตคนสุดท้ายของโลกที่พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาให้มาเผยแผ่ศาสนาต่อจากศาสนทูตคนก่อน ๆ  นับถือ
ฉะนั้น  การมอบตนต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยการเป็นผู้ปฏิบัติตามบทบัญญัติหรือโองการของพระองค์ที่ทรงมอบผ่านบรรดาศาสนทูต (รอซูล หรือ นบี) *** ที่ปรากฏชื่ออยู่ในคัมภีร์  “อัล กุรอาน” **** จำนวน 25 ท่าน คือ อาดัม  อิดรีสนูฮ.  ฮู้ด  ซอลิฮ.  อิบรอฮีมลูฎ  อิสหาก  ยะกู๊บยูซุฟมูซา  ฮารูณอิลยาส  ยูนุสซุอัยบ.  ดาวูด  สุไลมาน  อัลยะซะฮ.  ซุลกิฟล.   ซะคะริยา  อัยยู้บยะหยา  อิสมาอีล  อีซา  และมุฮัมมัด  โดยสิ้นเชิง  ก็จะมีความปลอดภัยและความสันติสุขทั้งในโลกนี้(ดูนยา) และโลกหน้า (อาคิเราะฮ.)
หลายคนคงคุ้นชื่อ  “อับดุล” (Abdul)  ซึ่งเป็นชื่อที่ยอดนิยมในหมู่เพื่อนพ้องชาวมุสลิมแท้จริงแล้ว การเรียกชื่อคุณอับดุลเฉย ๆ ไม่มีความหมายแต่ประการใด  เป็นแต่เพียงการเรียกชื่อเล่นกันเท่านั้น  ชื่อของผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามส่วนมากจะเป็นชื่อที่เกิดจากการผสมคำ  เช่น  อับดุลวอฮับ (Abdulwahab)  อับดุลคาหลิก  (Abdulkhaliq) เป็นต้น  และเมื่อเวลานำไปเขียนเป็นภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ  ก็มักถูกนำไปเขียนแยกคำ เช่น  อับดุล วอฮับ (Abdul  Wahab)  และ อับดุล  คาหลิก (Abdul  Khaliq)   เนื่องจากคิดว่า เป็นคำ 2 คำ  จึงเขียนแยกจากกันตามคตินิยมการเขียนภาษาอังกฤษ แถมยังเรียกขานชื่ออย่างฝรั่งเป็นคุณวาฮับ หรือคุณคาหลิก ก็มี  โดยเข้าใจว่า เป็นชื่อสกุล
ดังได้กล่าวแล้วว่า  พระผู้เป็นเจ้าของอิสลามิกชน คือพระอัลเลาะฮ(ซุบบาฮานา  ฮูวาตาอัลลา) แต่นอกจากนั้น  ทรงมีชื่อเมื่อเอ่ยพระนามของะพระองค์ต่าง ๆ กันอีก  ๙๙ พระนาม  ดังเช่น  อัล  วอฮับ(Al Wahab) หรือ พระผู้ให้  อัลเราะห์มาน  (Al Rahman) หรือ พระผู้เปี่ยมด้วยความเมตตา  อัล  คาหลิก  (Al Khaliq) หรือพระผู้สร้าง อัล อาซีซ(Al Aziz)  หรือพระผู้ทรงมหิทธานุภาพ  และ อัล การีม   (Al Karim)   “อินญิล” ในยุคท่านมูซา เรียกว่า “เตารอฮ.”และในยุคท่านดาวูด เรียกว่า  “ซะบูร.” หรือพระผู้สร้าง เป็นต้น ชาวมุสลิมจึงนิยมนำพระนามเรียกขานดังกล่าวไปผสมต่อหลังคำว่า  อับด. หรือ อับดูฮ (Abd, Abduh) ใช้เป็นชื่อต้นของตน  เพื่อความเป็นสิริมงคล ตามที่ท่านศาสดานบีมุฮัมมัดนิยมให้ใช้ร่วมกับชื่อที่ขึ้นต้นด้วยคำดังกล่าว โดยสามารถละคำว่า “อัล”  ซึ่งเป็นคำนำหน้าคำนามที่ชี้เฉพาะเจาะจง และมีความหมายแสดงถึงความสมบูรณ์อย่างแท้จริง
คำว่า  อับดูฮ. (Abduh)  หมายถึงข้ารับใช้ของพระองค์  หรือ ผู้เคารพบูชาพระองค์  คือเอกองค์อัลเลาะฮ  นั่นเอง  เมื่อเวลาเรียกชื่อสั้นในรูปแบบของการเรียกชื่อเล่น  เสียง “ฮ”  ซึ่งเพิ่มเข้ามา   เป็นสรรพนามแทนชื่อส่วนที่เหลือ ก็แทบจะจางหายไปเป็นเพียง อับดู (Abdu)  หรืออับดู (ฮ) (Abdu(h)) เท่านั้น ชื่อส่วนที่เหลือ ซึ่งเป็นพระนามเรียกขานของพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาอิสลาม   เช่น  อัล  วอฮับอัลเราะห์มาน หรือ อัล คาหลิก  นั้น เมื่อเวลาไปผสมหลังคำว่าอับดู ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนคำว่า  “อั”  ของคำว่า “อัล” เข้าไปด้วย เพราะเวลาพูดกันจริง ๆ จะไม่มีใครพูดว่า อับดู อัล วอฮับ  แต่จะพูดว่า  อัลดุลวอฮับ  เพราะ เสียง “อะ” จะกลายเป็นเสียงเบา  แม้ว่า  ในภาษาเขียน ต้องเขียนคำเต็ม  บางครั้งเวลาออกเสียงจริง ๆ  ชาวมุสลิมก็ละคำว่า  “อัล”  จากชื่อเต็ม ๆ เช่น  อับดูร์เราะห์มาน  และอับดูสซาลาม  เป็นต้น
นอกจากนั้น  ยังมีการเขียนชื่อเดือนต่าง ๆ ตามปฏิทินอิสลามผิด ๆ อีก เช่น  ดุล กาด๊ะ (DhulQada)   เดือนที่ ๑๑  และ ดุล ฮัจจ๊ะ  (DhulHajja)  เดือนที่ ๑๒   ที่ถูกนั้นต้องเขียนว่า  ดุลกาด๊ะ (Dhulqada) และ ดุลฮัจจ๊ะ (Dhulhajja)  ไม่เช่นนั้น  ต้องเขียนว่า  ดุ – ล – กาด๊ะ  หรือ  (Dhu – l – Qada) หรือ  ดุ – ล – ฮัจจ๊ะ  (Dhu – l – Hajja)  โดยมียติภังค์หรือขีดเส้นแบ่งคำสมาสไว้    หมายความว่า  “ของ” อัล  เป็นคำนำหน้านามชี้เฉพาะ  และ ฮัจจ๊ะ  หมายความว่า  การแสวงบุญ   ฉะนั้น  ดุ – ล – ฮัจจ๊ะ  หมายถึงเดือนแห่งการแสวงบุญ  เป็นต้น  กล่าวโดยสรุป  ชื่อหรือคำนามผสมที่มาจากภาษาอาหรับนั้น ควรเขียนติดกัน  หรือไม่ก็มีเส้นแบ่งคำไว้  จึงจะถูกต้องสมบูรณ์ตามการเขียนภาษาเดิม
——————–
* ความในวงเล็บ ใช้กล่าวหลังเอ่ยพระนามของพระองค์ แปลว่า พระผู้ทรงบริสุทธิ์และสูงส่ง ศาสนาคริสต์เรียกพระนามของพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวกันนี้ว่า “พระยะโฮวา”
** บทขอพระพรให้แด่ท่านศาสดา เมื่อเอ่ยนามของท่านทุกครั้ง ซึ่งแปลว่า “ขอเอกองค์อัลเลาะฮ โปรดประทานพรและสันติสุขแด่ท่าน”
*** ผู้ประกาศและเผยแผ่ศาสนาอิสลาม
****  คัมภีร์อัล กุรอาน  จำนวน ๑๐๔ เล่ม รวม ๖,๖๖๖ โองการ แบ่งเป็น ๑๑๔ บท และ ๓๐ ส่วน  ศาสนาคริสต์เรียกว่า   “ไบเบิ้ล” หรือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น