วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ขยะอาหารจะน้อยลง

        ผู้บริโภคควรเรียนรู้ที่จะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน  แต่บางครั้งก็ทำเกินเหตุ  หากสังเกตเห็นว่าอาหารมีตำหนิส่วนมากจะทิ้งขว้าง  บางครั้งก็เพราะวิตกกังวลมากเกินไปเพราะความไม่รู้  ทำให้ผักและผลไม้ถูกทิ้งลงถังขยะโดยไม่จำเป็น  โครงการริเริ่ม “Zu gut für die Tonne!” ของกระทรวงการบริโภคแห่งสหพันธ์ฯ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้  เพื่อหยุดยั้งการทิ้งขว้างอาหารลงถังขยะ
-          ผักเหี่ยว  ผักเหี่ยวยังสามารถเก็บไว้ได้  โดยเหมาะสำหรับการอบหรือเป็นส่วนประกอบของผัดผัก  เพราะตรงนี้เป็นเรื่องของหน้าตา  ไม่มีความแตกต่างในเรื่องของรสชาติ
-          ผลไม้ที่หั่นแล้ว  ผลไม้หรือผักที่หั่นแล้วและเป็นสีน้ำตาลตรงรอยหั่นก็ไม่ใช่เหตุผลให้ต้องวิตก  ที่เห็นเป็นเพียงปฏิกิริยาธรรมชาติของสารในผักที่มีต่ออากาศและไม่ได้ทำให้กินไม่ได้
-          มันฝรั่ง  มันฝรั่งเก็บไว้ได้หลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนแล้วแต่ชนิด  แต่สีเขียวเป็นสัญญาณเตือน  ตำแหน่งนั้นจะประกอบด้วย Solanin ที่สามารถเป็นพิษได้  อาการก็ได้แก่ ปวดท้อง เป็นไข้ อาเจียรหรือท้องเสีย  แต่ไม่ต้องทิ้งมันฝรั่งทั้งหัว  แต่ควรหั่นตรงที่เป็นสีเขียวออก  หลังจากต้มแล้วเก็บไว้ชั้นบนสุดของตู้เย็น จะเก็บได้ ๒-๓ วัน
-          เห็ด ผักโขมและปลา  ทั้งสามอย่างอุ่นกินได้อีก  ความกลัวที่ว่าอันตรายมาจากช่วงเวลาที่ยังไม่มีตู้เย็น  ดังนั้น มันจึงเสียเร็ว  ซึ่งหลีกเลี่ยงได้หากปล่อยอาหารที่เหลือให้เย็นและนำเข้าตู้เย็น  ตำแหน่งที่ดี ได้แก่ ชั้นแก้วเหนือช่องที่เก็บผัก  ซึ่งจะเย็นที่สุดและสามารถเก็บไว้ได้ ๑-๒ วัน  ในการอุ่นอีกสำคัญมากที่จะทำให้ร้อนทั่วถึงที่อุณหภูมิอย่างน้อย ๗๐ องศาเป็นเวลาอย่างน้อย ๒ นาที
-          หลังออกจากช่องแช่แข็งปล่อยให้ละลายแล้ว  ข้อมูลที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่า “หลังละลายแล้วไม่แช่แข็งอีก” ก็ไม่จริงเสียทีเดียว ตัวอย่างเช่น ผักแช่แข็ง หลังละลายแล้วได้รับอนุญาตให้เอาเข้าตู้แช่แข็งได้อีก  เนื่องจากก่อนกินก็ต้องผัดหรือต้มอยู่ดี  อย่างไรก็ดี ไม่ควรวางทิ้งไว้ข้างนอกนาน  ยิ่งเอาเข้าตู้แช่แข็งอีกเร็วเท่าใด เชื้อโรคก็ยิ่งก่อตัวได้น้อยเท่านั้น  นอกจากนั้น ยังรักษาสารอาหารได้ดีกว่า

หากผู้บริโภคเจาะจงจับจ่ายซื้อของเฉพาะที่ต้องการใช้ก็จะหลีกเลี่ยงการทิ้งขว้างได้  ผู้ที่ซื้อเผื่อไว้ครั้งแล้วครั้งเล่าและไม่ระมัดระวังเรื่องอายุการใช้งานเสี่ยงกับการที่อาหารเสียครั้งแล้วรั้งเล่า  ดังนั้น ก่อนการจับจ่ายซื้อของจึงคุ้มที่จะตรวจตราของที่ซื้อเก็บไว้  ในตู้แช่หรือในช่องแช่แข็งก็คุ้มที่จะตรวจดูสม่ำเสมอ  ผลไม้และผักที่แช่แข็งกินได้ถึง ๑ ปี  ปลา เนื้อและอาหารที่ประกอบเสร็จแล้วเพียง ๓ เดือน  ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรเขียนสลากบอกวันที่ไว้ก่อนจะเอาเข้าตู้แช่แข็ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น