วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แม่ดีที่สุด

      ในประเทศยุโรปใต้ เช่น อิตาลี และสเปน กลุ่มพลเมืองอายุน้อยจำนวนมากยังอาศัยใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่  สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (Eurostat) เปิดเผยว่าชาวอิตาเลียน ๒ ใน ๓ คนวัยระหว่าง ๑๘-๓๔ ปียังใช้ชีวิตอยู่กับพ่อแม่  ที่ประเทศสเปนก็แทบไม่น้อยกว่าด้วยจำนวน ๕๗%  ส่วนใหญ่ของประชาชนอายุน้อยก็ยังอยู่กับพ่อแม่เป็นเวลานาน  สำนักงานสถิติของอิตาลี (Istat)  มีความเห็นว่าปรากฏการณ์ที่เลื่อนการปลดปล่อยตัวเองจากครอบครัวดั้งเดิมแพร่หลายอย่างกว้างขวางมาหลายปีแล้ว  เหตุผลมีหลายประการ  แต่ที่แน่นอนคือ ชาวอิตาลีอายุน้อยจำนวนมากมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับครอบครัวพ่อแม่ของตน  โดยเฉพาะกับมารดา  ที่ประเทศสเปนก็คล้ายคลึงกัน ในการศึกษาของ  ๔๕%  ของผู้ถูกสอบถามระบุว่าไม่ออกจากบ้านพ่อแม่เนื่องจากเหตุผลของความสะดวกสบาย  แต่จำนวนเกือบเท่ากันฐานะทางการเงินมีบทบาทสำคัญ  ระหว่างการว่างงานในเยาวชนที่ประเทศอิตาลีอยู่ราว ๔๐%  ที่ประเทศสเปนถึงกับ  ๕๐%  ส่วนใหญ่มีรายได้น้อย  การที่ชาวสเปนออกจาก ”โรงแรมมาม่า” เฉลี่ยเมื่ออายุ ๒๙ ปี เกี่ยวกับความผูกพันของลูกชายกับแม่ เช่นเดียวกับในอิตาลี  แต่หนังสือพิมพ์ “El Pais“ ได้ตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ว่าการว่างงาน ตลาดแรงงานที่ด้อยถอยลงและเงินช่วยที่พักอาศัยที่ไม่มีอยู่เป็น “กรรไกรที่ตัดปีก” ประชาชนอายุน้อยในประเทศสเปน  ทำให้การตั้งบ้านสร้างเรือนต้องถูกเลื่อนออกไป  ตามข้อมูลของ Eurostat ในปี ๒๐๑๓ ในประเทศสมาชิก EU  ๒๘ ประเทศ ๖๐% ของสตรีวัย ๒๐-๒๔ ปียังอยู่กับพ่อแม่  ในบุรุษอายุเท่ากันถึงกับมีจำนวน ๗๒%  ในกลุ่มอายุ ๒๕-๒๙ ปี ลูกสาว ๒๘% และลูกชาย ๔๓%  ใช้บริการจากพ่อแม่อยู่ที่บ้านไปเรื่อยๆ  ลูกติดปีกออกจากบ้านพ่อแม่เมื่อมีอายุเฉลี่ย ๒๖ ปี  นับเป็นแขกที่ ”ซื่อสัตย์” ใช้ชีวิตใน “โรงแรมมาม่า” และส่วนใหญ่ในประเทศยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้  ที่ลูกที่ใช้ชีวิตอยู่พ่อแม่นานที่สุด  โดยออกจากบ้านในวัยเฉลี่ย ๓๒ ปี ได้แก่ ในประเทศโครเอเซีย  ตามมาด้วยสโลเวเกีย (๓๑)  มอลตา (๓๐) และอิตาลี (๓๐)  ที่ออกจากบ้านเร็วที่สุด แก่ ชาวสแกนดิเนเวีย  โดยชาวสวีเดนออกจากบ้านในวัยเฉลี่ย ๒๐ ปี  ชาวเดนมาร์ก ๒๑ ปีและชาวฟินแลนด์ ๒๒ ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น