วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ประชากรทั่วโลกสายตาสั้นเพิ่มขึ้น

        นักวิชาการเตือนภัย  ในการศึกษาล่าสุดว่าในอีก ๓๕ ปีมนุษย์ทุก ๑ ใน ๒ คนในโลกใบนี้จะมีอาการผิดปกติสายตาสั้น  ในปี ๒๐๕๐ และมีจำนวนประชากรโลกเกือบ ๑ พันล้านอาจถึงกับเกือบตาบอดได้  ตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างน่าหวาดหวั่น  ขณะที่เมื่อ ๑๕ ปีก่อนมีจำนวน ๒๓% ของประชากรโลกหรือ ๑.๔ พันล้านคนสายตาสั้น  ในปี ๒๐๕๐ จะเป็น ๔.๗๖ พันล้านคน 
การอ่อนด้อยของการมองเห็นที่แพร่หลายทั่วโลกมีปัจจัยสิ่งแวดล้อมเป็นต้นเหตุเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของวิถีการดำเนินชีวิตอย่างหนัก ผู้ทำการศึกษาจากสถาบัน Brien Holden มหาวิทยาลัยที่นิวเซาธ์เวลส์ ประเทศออสเตรเลียและสถาบันวิจัยนัยน์ตาที่สิงคโปร์ได้สรุปร่วมกันในนิตยสารวิชาการ “Ophtalmology“ ว่า  เนื่องมาจากการใช้เวลาข้างนอกน้อยลง แต่กิจกรรมที่ใช้สายตามากขึ้น  แม้ว่าเหตุผลด้านพันธุกรรมอาจมีบทบาทร่วมด้วย  กระนั้น ก็ไม่สามารถอธิบายแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างหนักได้ 
ผู้เขียนผลการศึกษาวิธีการดูแลที่ครอบคลุมจากจักษุแพทย์  เพื่อไม่ให้สายตาสั้น  ศาสตราจารย์ Kovin Naidoo จากสถาบัน Brien Holden Vision กล่าวว่า  ต้องให้แน่ใจว่าเด็กได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์เป็นประจำ  ซึ่งถ้าเป็นไปได้ควรทำปีละครั้ง  เพื่อให้สามารถทำการรักษาได้ทันเวลา  คำแนะนำของเขา คือ ทำกิจกรรมการแจ้งให้มากขึ้น  ลดกิจกรรมหน้าจอ สมาร์ทโฟน  และเครื่องรับโทรทัศน์น้อยลง  นอกจากนั้นมีทางเลือก เช่น กระจกแว่นแบบพิเศษ คอนเทคเลนส์หรือยา  เขาเตือนว่าสายตาที่สั้นขนาดหนัก  อาจทำให้เยื่อบุนัยน์ตาลอกหรือเป็นต้อกระจกได้ 

ทั้งนี้ นักวิจัยได้ทำการตรวจสอบการศึกษาทั้งสิ้น ๑๔๕ ชิ้นตั้งแต่ปี ๑๙๙๕  ที่เพิ่มหนักที่สุด ได้แก่ การสายตาสั้นในประชาชนอายุน้อยในเอเชียตะวันออก  คำชี้แจงที่เป็นไปได้สำหรับนักวิจัย ได้แก่ ระบบการศึกษาที่กดดันสูง  ทำให้กลุ่มเด็กนักเรียนในประเทศ เช่น สิงคโปร์ เกาหลี ไต้หวัน และจีน  ใช้เครื่องอิเลคโทรนิคส์อย่างบ้าคลั่งตั้งแต่ยังเด็กมาก  ในบางภูมิภาคของโลกทุกวันนี้ อาการสายตาสั้นก็แพร่หลายอย่างหนักกว่าที่อื่นอย่างชัดเจน  โดยตัวเลขผู้ประสบเหตุในประเทศที่มีรายได้สูงในเขตเอเซีย-แปซิฟิกสูงกว่าในมุมอื่น ๆ ของโลกมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น