วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ชีวิตยืนยาว

        ความยืนยาวของชีวิตประชาชนในประเทศเยอรมันเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับแต่ทศวรรษที่ ๘๐  Franziska Wöllert จากสถาบันประชากรและพัฒนาการแห่งเบอร์ลินกล่าวว่าประชาชนไม่เพียงแต่สูงวัยขึ้นทุกปี  แต่ยังสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีขึ้นด้วย  Rupert Püllen ประธานสมาคมแพทย์โรคชราเยอรมันกล่าวเสริมว่าสมาคม ฯ มีข้อบ่งชี้ว่าผู้มีวัย ๘๐ ปีทุกวันนี้  โดยเฉลี่ยมีร่างกายฟิตกว่าและแข็งแรงกว่าเมื่อ ๒๐ ปีก่อน  ตามการคำนวณของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อถือกำเนิดเด็กหญิงจะมีอายุยืนยาว ๘๓ ปี ๑ เดือน  สำหรับเด็กชาย ๗๘ ปี ๒ เดือน  ทำให้ภายใน ๑๐ ปีสุดท้าย เด็กหญิงมีอายุยืนขึ้น ๑ ปีครึ่ง  เด็กชายถึงกับ ๒ ปี ๓ เดือน  ประชาชนในวัยเกษียณก็มีชีวิตยืนยาวขึ้นเช่นเดียวกัน  ตามการคำนวณ บุรุษวัย ๖๕ ปีจะได้ฉลองวันเกิดครบรอบปีที่ ๘๒  เนื่องจากสามารถใช้ชีวิตได้อีก ๑๗ ปี ๘ เดือนที่ยังเหลือ  ซึ่งมากกว่าเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว ๑ ปี ๕ เดือน  สตรีในวัยเดียวกันจะเกือบได้ฉลองวันเกิดครบรอบ ๘๖ ปี  โดยยังมีเวลาใช้ชีวิตอีก ๒๑ ปีหรือมากกว่าเดิม ๑ ปี ๒ เดือน 
Wöllert กล่าวว่าความยืนยาวของชีวิตเพิ่มขึ้นทั่วโลก  นักสถิติพบว่าในการเปรียบเทียบนานาชาติ ประเทศเยอรมันไม่ได้อยู่ในตำแหน่งต้น ๆ  ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ฝรั่งเศส ลักเซมบวร์ก เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ หรือออสเตรีย ความยืนยาวของชีวิตของทั้งสองเพศสูงกว่าประเทศเยอรมันเล็กน้อย  เมื่อเปรียบเทียบกับเฉลี่ยของสหภาพยุโรป บุรุษในประเทศเยอรมันมีอายุยืนยาวกว่าเล็กน้อยและสตรีสั้นกว่าเล็กน้อย  Püllen กล่าวว่าสาเหตุหลักของความยืนยาวของชีวิตที่เพิ่มขึ้น คือ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ การเสียชีวิตผ่านโรคภัยที่พบบ่อย เช่น หัวใจวาย เนื้องอก  และเส้นโลหิตในสมองแตกลดลง  เขาระบุเหตุผลว่าเนื่องจากการรักษาที่ดีขึ้นและการป้องกันที่ดีขึ้น  Wöllert เสริมว่าความยืนยาวของชีวิตข้องเกี่ยวสูงมากกับปัจจัยทางสังคม  โดยทั่วไปถือว่ายิ่งมีการศึกษาดีขึ้นเท่าใด ประชาชนก็ใช้ชีวิตถูกสุขอนามัยขึ้นเท่านั้น  ดังนั้น ความยืนยาวของชีวิตจึงสูงขึ้น 

Rembrandt Scholz จากสถาบัน Max-Planck เพื่อการวิจัยด้านประชากรศาสตร์กล่าวว่า  การว่างงานส่งผลทางลบต่อความยืนยาวของชีวิตในบุรุษเป็นพิเศษ  ทั้ง Püllen และ Scholz เห็นพ้องกันว่าโดยทั่วไปสตรีใช้ชีวิตอย่างสนใจในเรื่องสุขภาพมากกว่าบุรุษ  อย่างไรก็ดี บุรุษทั้งในวัยทารกและในวัยเกษียณ ความยืนยาวของชีวิตเพิ่มขึ้นมากกว่าสตรี  Püllen ชี้แจงว่าการใช้ชีวิตของบุรษและสตรีใกล้เคียงกันมากขึ้นทุกที ผล คือ ความยืนยาวของชีวิตของทั้งสองเพศจึงใกล้เคียงกันด้วย  ความยืนยาวของชีวิตหลังการรวมประเทศในภาคตะวันตกยังสูงกว่าในภาคตะวันออกอย่างชัดเจน  ความแตกต่างนี้ลดลงอย่างหนัก  Wöllert กล่าวว่าในอดีตประเทศเยอรมันตะวันออก ประชาชนใช้ชีวิตอย่างไม่ถูกสุขอนามัยมากกว่าเล็กน้อย  นอกจากนั้น ระบบสาธารณสุขยังเพ่งเล็งที่ประชาชนในวัยทำงานเป็นพิเศษ  Püllen กล่าวว่าส่วนทุกวันนี้ความแตกต่างในภาคตะวันออกและตะวันตกในเรื่องความยืนยาวของชีวิตขึ้นอยู่กับระดับสถานะทางการเงินด้วย  ตามการประเมินของ Scholz สัดส่วนของชาวต่างชาติก็มีบทบาทด้วย  เพียงประชาชนที่สุขภาพดีอพยพและชาวต่างชาติที่ป่วยบ่อย ๆ เดินทางกลับไปยังบ้านเกิดในวัยสูงอายุ  ซึ่งแคว้นที่ได้รับประโยชน์ คือ บาเดน-วือร์ทเทมแบร์ก  ซึ่งเป็นผู้นำในเรื่องความยืนยาวของชีวิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น