วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

โครงการนำร่อง

        โทรศัพท์มือถือสร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับธุรกิจการคมนาคมทางใกล้เยอรมันมานับ ๒ ทศวรรษแล้ว  สมัยก่อนเป็นผู้โดยสารที่โทรศัพท์เสียงดังในรถโดยสารหรือรถราง  ซึ่งเป็นเรื่องน่ารำคาญสำหรับผู้อื่น  ปัจจุบันนี้แทบไม่ค่อยมีการบ่นว่าเรื่องนี้แล้ว  ทุกวันนี้คนขับกลัวคนเดินเท้าที่พิมพ์ข้อความในสมาร์ทโฟนขณะเดินข้ามถนนและไม่ใส่ใจกับการจราจร  ระหว่างที่โคโลญน์มีสัญญาณไฟพิเศษสำหรับ “ชนรุ่นก้มหัว”  โดยแถบหลอดไฟที่ฝังไว้บนพื้นจะส่องแสงหากรถแล่นเข้ามาใกล้  เป็นปฏิกิริยาต่อปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยขึ้นทุกทีกับคนเดินเท้าที่ถูกหันเหความสนใจ 
ในปี ๒๐๑๐ ที่โคโลญน์เป็นปีแห่งโศกนาฏกรรม  ประชาชน ๔ คนเสียชีวิตที่สถานีรถไฟ  ตามข้อมูลของตำรวจ ใน ๒ กรณีคนเดินเท้าเดิมข้ามขณะไฟแดง  อีกคนข้ามรางรถไฟแบบอวดเก่ง ประมาทเลินเล่อ  ครั้งกระนั้น มีการเรียกร้องแนวหลอดไฟ LED  เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่ทำให้เสียชีวิต  ในปี ๒๐๑๑ ผู้บริหารเมืองจึงได้ลงมตินำการทดสอบแนวหลอดไฟมาใช้  นับเป็นระยะเวลาหนึ่งมาแล้วที่ตำรวจตรวจสอบโทรศัพท์ของผู้ร่วมอุบัติเหตุว่ามีการใช้ก่อนหน้าการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ 

สาเหตุอื่นก็ได้แก่ ความเผลอไผลผ่านดนตรีจากหูฟังหรือตกอยู่ในภวังค์ความคิดหรือมีเวลาน้อยทำให้ต้องเร่งรีบ  แต่ที่เกิดขึ้นเสมอ คือ การประเมินอันตรายต่ำ  ในโครงการนำร่องที่โคโลญน์มีไฟบนพื้นที่ป้ายรถเมล์ ๓ แห่ง  ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีการสัญจรหนาแน่นพร้อมอันตรายจากอุบัติเหตุ  ในกรอบของการทดสอบมีการตรวจสอบเพื่อบันทึกผลของไฟ  แล้วจึงจะมีการตัดสินใจว่าจะมีการติดตั้งต่อไปหรือไม่และที่ไหน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น