วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ระบบการศึกษา

        ตามการศึกษาของ Initiative Neue Soziale Marktwirtschaft (INSM) ที่ได้รับการเปิดเผยที่เบอร์ลินเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคมที่ผ่านมา แคว้นซักเซน ทือริงเกน และไบเอิร์น เป็นสามแคว้นผู้นำที่ให้ความสำคัญกับความคงที่ในเรื่องของระบบโรงเรียน 
Hubertus Pellengahr ผู้จัดการของ INSM กล่าวว่าที่ซึ่งมีความต่อเนื่องและกฎเกณฑ์ชัดเจนจะประสบความสำเร็จดีที่สุด  ในขณะที่การปฏิรูปใหม่ตลอดเวลาค่อนข้างให้ผลตรงกันข้าม  ตัวอย่างที่ดีที่สุด ได้แก่ การกลับไปกลับมาในเรื่องของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน ๘ ปี  Pellengahr กล่าวว่าสิ่งที่เกิดในบางแคว้นเป็นเรื่องไม่มีความรับผิดชอบและเหลวไหลมาก  G8 ถูกนำมาใช้ด้วยความยุ่งยากสูง  ควรดำรงไว้  ไม่ควรลืมว่าการตัดระยะเวลาเรียนในโรงเรียนให้สั้นลงให้ประโยชน์กับเศรษฐกิจด้วย  เขาชมว่า ความช็อคจากผลสำรวจด้านการศึกษา Pisa ให้ผลดี  แคว้นที่อ่อนด้อยกว่าเลื่อนขึ้นสู่กลุ่มผู้นำ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮัมบวร์กและซาร์ลันด์แซงขึ้นมากใน ๓ ปีที่ผ่านมา  กระนั้น จุดอ่อนหลักของระบบการศึกษาเยอรมันยังคงเป็นความบกพร่อง การปล่อยปละละเลยผ่านทางสังคม  ผู้เชี่ยวชาญตำหนิว่าความสำเร็จในการศึกษายังคงขึ้นกับความเป็นมาที่บ้านมากเกินไป  ตรงนี้ประเทศเยอรมันขยับจาก “บกพร่อง” เป็น “พอใช้” 
ตามการศึกษาเปรียบเทียบ การศึกษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดมีที่ซักเซน ทือริงเกน ไบเอิร์น บาเดน-วือร์ทเทมแบร์ก และฮัมบวร์ก  แคว้นอื่น ๆ ตามมาอย่างค่อนข้างเสมอกัน  ปิดท้ายด้วยเบอร์ลิน  ความแข็งแกร่งและความด้อยส่วนตัวของระบบแตกต่างกัน  ความมานะพยายามร่วมกันใหญ่ที่สุดในปีต่อ ๆ ไปได้รับอนุญาตให้เป็นการปรับตัวของผู้ลี้ภัย 

Axel Plünnecke ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของสถาบันเศรษฐกิจเยอรมัน (IW) คำนวณว่าต้องมีการสร้างที่ว่างในอนุบาลเพิ่มเติม ๑๐๐,๐๐๐ ที่นั่ง ที่ในโรงเรียน ๒๐๐,๐๐๐ ที่นั่ง และตำแหน่งครู ๑๕,๐๐๐-๓๐,๐๐๐ ตำแหน่ง  รายจ่ายที่รวมกันเป็น ๓.๔๕ พันล้านยูโรต่อปี  ก้าวแรกต้องเป็นการพัฒนาพื้นฐานด้านคุณสมบัติของผู้ลี้ภัย  ราว ๑ ใน ๔ ของผู้มาใหม่อย่างมากที่สุดจบประถมศึกษาตอนต้น  เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการปรับตัวในตลาดแรงงาน แคว้นต่าง ๆ ต้องเสนอมาตรการการอ่านออกเขียนได้  และการศึกษาพื้นฐานด้านอาชีพ  แต่ที่สำคัญ ได้แก่ การสอนภาษา และโปรแกรมส่งเสริม  ตามสายตาของผู้เชี่ยวชาญ หน้าที่เข้าโรงเรียนควรขยายออกไปจนถึงอายุ ๒๑ ปี  Plünnecke กล่าวว่าแม้ว่าการลงทุนให้การศึกษาผู้ลี้ภัยเป็นค่าใช้จ่ายสูงมากสำหรับประเทศเยอรมัน  แต่สามารถคุ้มค่าทางการเงิน  โดยผู้ลี้ภัยสามารถช่วยลดการขาดแคลนแรงงานฝีมือในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น