วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โรคหัดเยอรมันระบาดที่เบอร์ลิน

เด็กชายวัย ๑ ขวบครึ่งเป็นเหยื่อรายแรกที่เสียชีวิตจากคลื่นระบาดโรคหัดเยอรมันที่เบอร์ลิน  โดยเด็กไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดฯและเสียชีวิตที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  กระนั้น การฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดในประเทศเยอรมันควรเป็นเรื่องของความสมัครใจต่อไป  เป็นไข้ ไอ ผิวเป็นผื่น ฯลฯ แรกเริ่มโรคหัดแทบไม่ได้แตกต่างจากไข้หวัดใหญ่  คนส่วนใหญ่จึงเห็นว่าไม่อันตรายและเป็นแค่ชั่วขณะก็หาย  แต่การปะทุขึ้นของโรคหัดฯล่าสุดที่เบอร์ลิน
นับแต่เดือนตุลาคม ๒๐๑๔ กลับแตกต่างจากที่เคยปรากฎ  สำนักงานแคว้นเพื่อสาธารณสุขและสังคมที่เบอร์ลินรายงาน  คนไข้ติดเชื้อมากกว่า ๕๗๐ ราย (จนถึงวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์)   ราว ๙๐% ของผู้ป่วยทั้งหมดไม่ได้ฉีดวัคซีน  หลังจากที่การเสียชีวิตของเด็กจาก Berlin-Reinichendorf  มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับหน้าที่ฉีดวัคซีนอีกครั้ง  โรคหัดฯเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย  ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคอ่อนแอและสามารถนำไปสู่การติดเชื้อรุนแรง เช่น การติดเชื้อที่ปอดและสมองได้
โฆษกของสมาคมอาชีพกุมารแพทย์และแพทย์เยาวชนแห่งเบอร์ลินระบุการระบาดขึ้นของโรคที่เมืองหลวงว่าเป็น “หายนภัยจากมุมมองด้านการแพทย์”  เด็กเล็กวัยต่ำกว่า ๑ ปี  ในช่วงวัยอันตรายเป็นพิเศษ  กลุ่มนี้สามารถป้องกันได้เพียงหากบุคคลที่แวดล้อมได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน  หากมารดาของเด็กไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือมีภูมิต้านทานเพียงเล็กน้อยที่ส่งต่อผ่านการให้นมบุตร  เด็กก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันจากการดื่มนมแม่ในระยะ 6 เดือน ที่เรียกว่า Nestschutz  เด็กเล็กวัยต่ำกว่า ๑๑ เดือนยังไม่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดฯ  เมืองใหญ่ที่มีงานชุมนุมคนจำนวนมากร่วมฉลองขนาดใหญ่และการใช้ชีวิตร่วมกันของประชาชนจำนวนมากในพื้นที่แคบ  เสี่ยงต่อภาวะ เอื้อต่อการเกิดโรค
ทางการเชื่อว่าการเกิดขึ้นเริ่มต้นในกลุ่มผู้ขอลี้ภัยจากบอสเนีย แฮร์โซโกวินา  และเซอร์เบีย  ผลพวงของสงครามกลางเมืองในทศวรรษที่ ๙๐ ไม่มีการฉีดวัคซีนเป็นปกติอีกต่อไป  กรณีเสียชีวิตจากโรคหัดเคยเกิดขึ้นในประเทศเยอรมันมาแล้ว
ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบัน Robert-Koch (RKI) กล่าวว่าสามารถเกิดกับเด็กได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่  ในผู้ใหญ่การติดเชื้อโรคสามารถพบได้บ่อยและหนักกว่า  ทำให้การเสียชีวิตสูงขึ้น  บางครั้งโรคหัดก็นำไปสู่การเสียชีวิตหลังติดเชื้อหลายปี  Jakob Maske แพทย์กล่าวว่าระหว่างการปะทุขึ้นการฉีดวัคซีนก็เป็นเรื่องควรทำ  ผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันควรไปฉีดวัคซีนทันที  จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญของ RKI ใช้เวลา ๑-๒ สัปดาห์การป้องกันจากวัคซีนจึงจะได้รับการเสริมสร้าง  ถึงแม้ว่าไม่สามารถยับยั้งการติดต่อของโรคได้อีกต่อไป  แต่การศึกษาแสดงว่าในผู้ที่ฉีดวัคซีน การป่วยจากติดโรคจะไม่หนัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น