วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ยาแก้ปวด

ปวดศีรษะเหมือนถูกค้อนทุบ ปวดฟันตุบ ๆ ฯลฯ ในกรณีเหล่านี้ประชาชนจำนวนมาก คว้ายาแก้ปวดมาเป็นพึ่ง  ทั้งที่ยาไม่ได้รักษาต้นเหตุของความเจ็บปวดและมักมีผลอาการข้างเคียงอยู่ด้วยเสมอ    แม้ว่ายาแก้ปวดส่วนใหญ่จะซื้อได้ที่ร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา  สภาเภสัชกรแคว้นเฮสเซนเตือนว่า กระนั้นก็ไม่ควรกลืนยาโดยไม่ยับยั้ง  ในแง่หนึ่งความเจ็บปวดไม่ใช่โรค  หากแต่เป็นสัญญาณเตือนของร่างกาย  จึงต้องค้นหาสาเหตุของความเจ็บปวด  นอกจากนั้น ยาประเภทต่าง ๆ สามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ยาที่ประกอบด้วย Acetylsalicylsaeure (ASS), Diclofenac, Ibuprofen รวมทั้ง Naproren สามารถมีผลทำให้เลือดจาง  ดังนั้น ยานี้จึงไม่ใช่ตัวเลือกอันดับแรกสำหรับแผลที่มีเลือดไหล เช่น หลังบาดเจ็บ   นอกจากนั้น ในการกินยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเกิดปัญหากับกระเพาะอาหาร  และยายังไปลดผลของยาลดความดันโลหิต  ผู้ที่กินยาแก้ปวดนานจึงปรึกษาร่วมกับแพทย์หายาลดความดันที่เข้ากัน  นอกจากนั้น ยายังสามารถเพิ่มปัญหา Asthma  พาราเซตามอลเป็นอันตรายต่อตับ  ดังนั้น จึงควรระวังที่จะไม่กินเกินกว่าปริมาณสูงสุดต่อวัน
ตามข้อมูลของสภาเภลัชกร หากค่าของตับไม่ปกติ คนไข้ดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาเดียวกันหรือกินยาอื่น ๆ ที่สร้างปัญหาให้ตับควรระมัดระวังอย่างสูงในการกินยาแก้ปวด  นอกจากผลข้างเคียง ยาแก้ปวดยังสามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้กับยาชนิดอื่นได้  ดังนั้น ที่ดีที่สุดคนไข้ควรหารือกับแพทย์และเภสัชกรเกี่ยวกับการกินยาแก้ปวดและการผสมผสานกันของยาหลาย ๆ ตัว  ปริมาณสำหรับเด็กต้องคำนวณเป็นพิเศษ  ผู้ปกครองไม่ได้รับอนุญาตให้จ่ายยาให้ลูกเองง่าย ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น